การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี ๒) พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดจันทบุรี ๓) นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดจันทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณโดยการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน ๒๕ คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง วิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๔๐๐ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ การจัดการด้านการบริการ การจัดการด้านการพักผ่อนและศึกษาหาความรู้ การจัดการรักษาสภาพธรรมชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติ การจัดการฟนฟูสภาพธรรมชาติ การจัดการด้านบริการ การจัดการสถานที่เพื่อการพัก ผอนและศึกษาหาความรู้ การจัดการส่งเสริมอาชีพ การจัดการด้านเส้นทางท่องเที่ยว การจัดการ การประชาสัมพันธ์ การจัดการโดยการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการแหล่งทองเที่ยวเชิงเกษตร การจัดการด้านกลุ่มแรงงานและช่างฝีมือ ผลการจัดการนำไปสู่ความยั่งยื่นของแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม
๒. การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดจันทบุรี เป็นการจัดการและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยหน่วยงานภาครัฐได้จัดทำระบบสารสนเทศในภาพรวมของจังหวัดจันทบุรี แนะนำเส้นทาง แนะนำสถานที่เชื่อมโยงเส้นทางกับแหล่งท่องเที่ยว เครือข่ายและนักวิจัยได้พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศโดยการจัดทำ จัดทำเว็บไซต์ จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว จัดทำระบบสื่อสาร การจัดการและพัฒนาโดยเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยว จัดทำกิจกรรมท่องเที่ยวของจังหวัด จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว จัดทำองค์ความรู้และการจัดการและพัฒนาโดยภาครัฐ
จัดทำฐานข้อมูล จัดการพัฒนาการสื่อสาร จัดทำการประชาสัมพันธ์
Download |