หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายประดิษฐ์ ดีเลิศ
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์การจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: กรณีศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาและโรงเรียนการกุศลวัดในเขตเทศบาลนครขอนแก่น(๒๕๕๒)
ชื่อผู้วิจัย : นายประดิษฐ์ ดีเลิศ ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัติสุนทร
  รศ. อุดม บัวศรี
  ดร.ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๒
 
บทคัดย่อ

      การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงพระราชปณิธานในการ

จัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความเบี่ยงเบน
และผลกระทบที่เกิดจากความเบี่ยงเบนไปจากพระราชปณิธานต่อสังคมไทย ประวัติความ
เป็นมาในการจัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ของคณะสงฆ์ไทย และเพื่อประเมินคุณภาพในการ
จัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ของคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับแนวพระราช
ปณิธาน ในการจัดการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า มีความ
สอดคล้องมากน้อยเพียงใด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว การดำเนินการวิจัยได้ใช้วิธีวิจัยจากข้อมูลใน
เอกสาร คือ พระไตรปิฎก รวมทั้งวรรณกรรมของนักวิชาการทางสังคม ศาสนา และอื่นๆ
กับข้อมูลจากภาคสนามโดยการสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
เพื่อทวยราษฎร์ของคณะสงฆ์ไทยจากโรงเรียนที่เป็นกรณีศึกษา ๒ ประเภท คือ โรงเรียนพระ
ปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และโรงเรียนการกุศลวัดซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่นผลของการวิจัยพบว่า ตลอดเวลาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึง สมัยต้นแห่งกรุง
รัตนโกสินทร์ การจัดการศึกษาเพื่อทวยราษฎร์ได้ดำเนินการโดยวัดหรือคณะสงฆ์ในลักษณะ
บวชเรียน โดยมีพระอุปัชฌาย์ อาจารย์เป็นผู้ให้การศึกษาแก่พระสงฆ์สามเณร ที่บวชเข้ามา
ในพระพุทธศาสนา
ครั้นถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งจักรี
วงศ์ ซึ่งพระองค์ทรงปฏิรูปการบริหารบ้านเมืองให้ทันสมัย พระองค์ได้ทรงมีพระราช
ปณิธานในการจัดการศึกษาเพื่อบุตรหลานของราษฎร โดยโปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงเรียนขึ้นใน
วัดทั่วพระราชอาณาจักร ให้พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นครูอาจารย์และโปรดเกล้าฯให้ตั้ง
กระทรวงธรรมการ ขึ้นเป็นองค์กรดูแลควบคุมให้การดำเนินการสำเร็จตามพระราชปณิธาน
พร้อมทั้งทรงพระราชทาน ตราเสมาธรรมจักร ให้เป็นเครื่องหมายของกระทรวงธรรมการ
และตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ อันบ่งบอกชัดว่า พระองค์ทรงมีพระ
ราชประสงค์ให้จัดการศึกษา ตามแนวแห่งพุทธธรรม หรือ ไตรสิกขา ภายหลังต่อมาเมื่อ
ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีการเบี่ยงเบนแนวของ
การจัดการศึกษาไปจากพระราชปณิธาน โดยเปลี่ยนชื่อกระทรวง และนำโรงเรียนออกไป
จากวัด พระสงฆ์จึงหมดหน้าที่ให้การศึกษาแก่บุตรหลานของราษฎร และการศึกษาที่รัฐจัด
ตามแนวใหม่ เน้นหนักด้านความเป็นเลิศทางวิชาการมากกว่าด้าน คุณธรรม จริยธรรม เป็น
ผลให้คุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทยอ่อนด้อยถอยลง
ปัจจุบัน มีคณะสงฆ์บางส่วนได้จัดตั้งสถานศึกษาสำหรับทวยราษฎร์ขึ้นในวัดและ
บริหารจัดการโดยพระสงฆ์ ถึง ๗ รูปแบบ จากการศึกษาวิเคราะห์ได้พบว่า รูปแบบของ
โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ โรงเรียนการกุศลวัด มีความสอดคล้องและ
ใกล้เคียงกับแนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมากที่สุด
และเมื่อประเมินคุณภาพของการศึกษาแล้วพบว่า โรงเรียนทั้งสองประเภทดังกล่าวสามารถ
ผลิต คนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ให้กับสังคมไทยได้มาก โดยเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ของ
ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษากรณีตัวอย่างทั้งสองแห่งว่า มีความก้าวหน้าในการ
ดำรงชีวิตและมีพฤติกรรมที่ไม่ก่อปัญหาให้กับสังคมประเทศชาติแต่ประการใด

Download : 255230.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕