วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาระบบเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ภาษาถิ่นไทใหญ่ ๒) เพื่อศึกษาโครงสร้างพยางค์ภาษาถิ่นไทใหญ่ หมู่บ้านเปียงหลวง ตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ศึกษาจากผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นเจ้าของภาษา ๑๐ ท่าน แล้วนำมาวิเคราะห์หน่วยเสียง และโครงสร้างพยางค์ตามหลักทฤษฎีโครงสร้างภาษาศาสตร์ (Structural Linguistics)
ผลการวิจัยพบว่า ระบบเสียงภาษาถิ่นไทใหญ่ มีหน่วยเสียงพยัญชนะ ๑๗ หน่วยเสียง ได้แก่ / p /. / t /. / k /. / ɂ /. / ph /. / th /. / kh /. / m /. / n /. / ɲ /. / ŋ /. / s /. / c /. / h / . / l /. / w /. / y /. และ มีหน่วยเสียงควบกล้ำ (Consonant Clusters) ๓ หน่วยเสียง ได้แก่ หน่วยเสียง / kw / . / khw / . / sw /
มีหน่วยเสียงสระเดียว (Single Vowel Phonemes) ๑๘ หน่วยเสียง ได้แก่ / i /. / i: /. / ɯ /. / ɯ: /. / u /. / u: /. / e /. / e: /. / ǝ /. / ǝ: /. / o /. / o: /. / ɛ /. / ɛ: /. / a /. / a: /. / ɔ /. / ɔ: /. และมีหน่วยเสียงสระประสม ๑ หน่วยเสียง ได้แก่ / aա /
มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ ๕ หน่วยเสียง ได้แก่ เสียงระดับกลาง เสียงต่ำตก เสียงตก เสียงสูง เสียงขึ้น และสำรับโครงสร้างพยางค์แบ่งออกเป็นสามโครงสร้าง คือโครงสร้างพยางค์เดียว C(:)V(:)(S/N)T โครงสร้างสองพยางค์ C(:)V(:)(S/N)T+C(:)V(:)(S/N)T และโครงสร้างหลายพยางค์ C(:) V(:)(S/N)T+C(:)V(:)(S/N)T+C(:)V(:)(S/N)T มีทั้งพยางค์เปิด (Open Syllables) ซึ่งลงท้ายด้วยหน่วยเสียงสระ หรือพยางค์เสียงปิด พยางค์ปิด (Closed Syllables) ซึ่งลงท้ายด้วยพยางค์เสียงปิด / p . t . k . ɂ /
Download |