หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วรพรต ลือเลิศ
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๙ ครั้ง
การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามหลักพุทธบูรณาการ
ชื่อผู้วิจัย : วรพรต ลือเลิศ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติมุนี (เทียบ มาลัย)
  แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

ดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ตามหลักพุทธบูรณาการ” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ๓) เพื่อนำเสนอการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายตามหลักพุทธบูรณาการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์

ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ทฤษฎีการอนุรักษ์โบราณสถาน ทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม และทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการมรดกโลก การส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน มีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ ๓ ด้าน คือ ๑) ปัญหาด้านบุคลากร ๒) ปัญหาด้านงบประมาณ ๓) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ โดยมีหลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาบูรณาการในการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถาน ประกอบด้วย หลักอปริหานิยธรรม ในข้อประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม ให้เคารพนับถือบูชาพระเจดีย์ทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเมือง และไม่บั่นทอนผลประโยชน์ที่เคยอุปถัมภ์บำรุงพระเจดีย์เหล่านั้น หลักสัปปุริสธรรม ในข้ออัตตัญญุตา คือรู้จักตัวเอง อันรวมถึงความสำนึกรู้คุณค่าประวัติศาสตร์โบราณวัตถุโบราณสถาน และ ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน อันรวมถึงการรู้จักประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่บ่งถึงความเป็นมาของชุมชนของตนเอง และหลัก สัมมัปปธาน ๔ คือ สังวรปธาน เพียรระวังมิให้ความเสียหายที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ปหานปธาน เพียรกำจัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว ภาวนาปธาน เพียรหาวิธีการอนุรักษ์โบราณสถานที่ยังไม่มี ให้เกิดมีขึ้น อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา คือ เพียรดำรงวิธีการอนุรักษ์โบราณสถานที่เกิดขึ้นแล้ว ให้คงอยู่และให้ดียิ่งขึ้น แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานนี้เรียกว่า PPC MODEL อันประกอบด้วย P หมายถึง การส่งเสริม (Promotion) P หมายถึง จิตสำนึกสาธารณะ (Public Mind) และ C หมายถึง การอนุรักษ์ (Conservation)

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕