ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาสตรีฐานะมารดาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาสตรีฐานะมารดาในสังคมปัจจุบัน ๓) เพื่อเสนอรูปแบบของสตรีฐานะมารดาที่พึงประสงค์ในสังคมไทยปัจจุบันตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ดุษฎีนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยแบบคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลจาก เอกสารหลักคือพระไตรปิฎก เอกสารรองคือ อรรถกถาธรรมบท รวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลจากภาคสนามโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแล้วรวบรวม เรียบเรียงและนำเสนอผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า สตรีฐานะมารดาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้แก่ หญิงผู้ให้กำเนิดบุตรเมื่อให้กำเนิดบุตรแล้วได้ชื่อว่ามารดา(มาตา) และมารดา (รวมเอาบิดาด้วย) ได้ชื่อว่า ทิศเบื้องหน้าเพราะเป็นผู้มีอุปการะแก่บุตรมาก่อน คือท่านผู้อนุเคราะห์แก่บุตร ๕ ประการคือ ๑) ห้ามปรามจากความชั่ว ๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๔) หาคู่ครองที่เหมาะสมให้ ๕) มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร หากกล่าวถึงบทบาทที่มีต่อบุตรมี ๒ บทบาทคือ บทบาททางธรรม เป็นการห้ามปรามจากความประพฤติชั่วทางกาย วาจา และใจ นอกจากนี้ยังมีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่บุตร และบทบาททางโลกเป็นการให้ศึกษาศิลปะวิทยาการต่าง ๆ หาคู่ครองที่เหมาะสม มอบทรัพย์สมบัติในโอกาสอันควร ซึ่งเป็นการให้บุตรมีวิชาความรู้และสามารถดำเนินชีวิตเป็นสัมมาชีวะ ติดตัวไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต
Download |