ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องการให้ทานและโรงทานในพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย และ
(๓) เพื่อวิเคราะห์การให้ทานผ่านโรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า คำสอนเรื่องการให้ทานและโรงทานในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงยกย่องธรรมทานเลิศกว่า อามิสทาน เพราะธรรมทานจะให้แนวปฏิบัติเพื่อพัฒนาชีวิตสู่ความเป็นอริยบุคคลได้ ขณะเดียวกันก็สอนอามิสทานในฐานะปัจจัยหล่อเลี่ยงชีวิตที่พระสงฆ์ได้ต้องรับจากคฤหัสถ์ ในการให้ทานนั้นสามารถให้ได้ทุกสถานที่ แต่ก็มีการกำหนดสถานที่ให้ทานเป็นการเฉพาะเรียกว่า โรงทาน ได้แก่ สถานที่สำหรับแจกจ่ายสิ่งของที่ใช้ในการดำรงชีวิตมีอาหารเป็นต้น
โรงทานตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ตั้งขึ้นตามค่านิยมของหลายภาคส่วน คือ (๑) พระพุทธ ศาสนา (๒) ศาลเจ้า โรงเจ (๓) หน่วยงานภาครัฐด้านสังคมสงเคราะห์ และ (๔) มูลนิธิจิตอาสา องค์กรอาสาสมัครภาคประชาชน มีการตั้งโรงทานในสังคมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกโรงทานได้ ๓ ประเภท คือ (๑) โรงทานที่ตั้งแบบถาวร ตามวัดและสำนักปฏิบัติธรรม (๒) โรงทานที่ตั้งแบบชั่วคราว ตามสถานที่จัดงานบุญ เช่น งานพระถวายพระเพลิงพระบรมศพ และ(๓) โรงทานที่ตั้งช่วงเหตุเหตุการณ์สำคัญตามสถานที่เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ชุมชน
ผู้ที่ตั้งโรงทานในสังคมไทย
Download
|