การวิจัยรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ๒) เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นการวิจัยเขิงเอกสารและเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า หลักการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้ (๑) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว หรือโน้มน้าวใจให้เกิดความสนใจปรารถนาที่จะไปท่องเที่ยวยังแหล่งท่องเที่ยว (๒) สิ่งอำนวยความสะดวก ที่รองรับการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเป็นไปได้ด้วยความสะดวกสบาย (๓) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ต้องมีเจ้าหน้าที่หรือมัคคุเทศให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ท่องเที่ยว
การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒธรรมดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. ๒๕๖๑–๒๕๖๔ วิสัยทัศน์ เมืองมรดกโลกล้ำ เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรมเมืองแห่งอารยธรรมและความสุขอย่างยั่งยืน (๑) การจัดทำผังการใช้สอยพื้นที่เขตอุทยานประวัติศาสตร์ การจัดทำแผนพัฒนาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และการจัดทำแผนพัฒนาฟื้นฟูโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ (๒) การจัดทำฐานข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ในระบบสารสนเทศ และการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรมหรือเทศกาลสำคัญ (๓) การบริหารจัดการบุคลากรการท่องเที่ยว ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอำนวยความสะดวกในอุทยานประวัติศาสตร์ ในด้านการท่องเที่ยว และการพัฒนาจริยธรรมในการให้บริการนักท่องเที่ยว ที่สำคัญการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนบริเวณใกล้เคียงต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา โดยให้ถือว่าทุกคนมีหน้าที่ดูแลรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
Download |