วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ข้อ คือ ข้อ๑. ศึกษาความเป็นมาของกฎหมายเชิง
พุทธหรือพระวินัยและกฎหมายไทยบางฉบับที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ไทย ข้อ๒. ศึกษา
ผลกระทบจากเนื้อหาของกฎหมายและการใช้กฎหมายไทยบางฉบับ โดยมีพระธรรมวินัยเป็น
บรรทัดฐาน ข้อ๓. รวบรวมทัศนะคติของนักกฎหมายและนักการศาสนาบางกลุ่มที่มีผล
เกี่ยวข้องกับกฎหมายคณะสงฆ์ไทยบางฉบับ และข้อสุดท้ายของวัตถุประสงค์คือ วิเคราะห์
และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากเนื้อหาของกฎหมายที่มี
ผลกระทบต่อพระสงฆ์ไทย
ผลการวิจัยพบว่าความเป็นมาของพระวินัยหรือกฎหมายเชิงพุทธนั้น พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงบัญญัติขึ้นต่อเมื่อมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้น แต่กฎหมาย
ทั่วไปมักจะบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และกฎหมายบางฉบับที่
ทำการศึกษามีเนื้อหาผิดกับพระวินัย กล่าวคือ เนื้อหาของพระวินัยบัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งที่จะให้
พระสงฆ์มีความบริสุทธิ์บริบูรณ์ในเพศพรหมจรรย์ พระวินัยจึงมีความยุติธรรมและไม่
ก่อให้เกิดโทษแก่พระสงฆ์ ดังนั้นกฎหมายซึ่งผิดกับพระวินัยจึงเป็นโทษแก่สงฆ์
จากการสัมภาษณ์นักกฎหมายและนักการศาสนาพบว่า ควรปรับเนื้อหาของ
กฎหมายเสียใหม่ กฎหมายควรให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาในการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ
ตนเอง และการบัญญัติกฎหมายควรเปิดกว้างเพื่อให้สามารถก่อให้เกิดความยุติธรรมอย่าง
แท้จริงแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแต่เดิมทีผู้บัญญัติกฎหมายมีเจตนารมณ์บัญญัติกฎหมายเพื่อให้เกิดความเรียบร้อย
ขึ้นในสังคมสงฆ์ และป้องกันการเรี่ยไรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อกฎหมายดังกล่าวถูก
นำมาบังคับใช้ ปรากฏว่าเนื้อหาของกฎหมายและการใช้กฎหมายบางฉบับมีผลกระทบที่เป็น
ผลร้ายต่อพระสงฆ์ จึงมีผู้นำเสนอขอให้ปรับแก้ไขเนื้อหาบางประการเพื่อให้เกิดความ
ยุติธรรมอย่างแท้จริง แต่การปรับหรือแก้ไขกฎหมายกลับเป็นเรื่องยากเพราะผู้มีอำนาจในการ
แก้ไขกฎหมายไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของกฎหมายโดยให้เหตุผลว่ากฎหมาย
|