หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุตจินดาภรณ์ (ยงยุทธ ญาณสมฺปนฺโน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๑ ครั้ง
การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรลักษณ์เพื่อบรรเทาทุกข์ของคนในสังคมปัจจุบัน
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุตจินดาภรณ์ (ยงยุทธ ญาณสมฺปนฺโน) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร
  เอกฉัท จารุเมธีชน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรลักษณ์เพื่อการบรรเทาทุกข์ของคนในสังคมปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาทุกข์ของคนในสังคมปัจจุบัน (3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรลักษณ์เพื่อการบรรเทาทุกข์ของคนในสังคมปัจจุบัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัย            เชิงคุณภาพและการสัมภาษณ์ประชากรกลุ่มตัวอย่างในจังหวัดบุรีรัมย์ ๕ อำเภอ จำนวน ๒๕ รูป/คน

    ผลการวิจัยพบว่า ไตรลักษณ์ (๑) อนิจจตา ความไม่เที่ยง คือ สังขารทั้งปวงเป็นของ            ไม่เที่ยง (๒) ทุกขตา ความเป็นทุกข์ คือ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และ (๓) อนัตตตา ความเป็นของไม่     ใช่ตัวตน คือ สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งหลายตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ ทุกข์ของคนในสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ โดยรวมมี ๒ ประการ (1) กายิกทุกข์ เป็นทุกข์ทางกาย คือ การที่ร่างกายไม่ปรกติ ร่างกายพิการ มีโรคภัยเบียดเบียน และ (2) เจตสิกทุกข์ เป็นทุกข์ทางใจ คือ ความเสียใจ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจ จิตหวั่นไหวไปกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และทุกข์ทั่วไป มีอีก ๔ ด้าน คือ ด้านครอบครัว ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านจิตใจ                แนวทางการประยุกต์ใช้หลักไตรลักษณ์ในการบรรเทาทุกข์ของคนในสังคมปัจจุบัน                 และในจังหวัดบุรีรัมย์ มีปัญหาเรื่องทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ โดยทั่วไปแล้วมีทุกข์อีก ๔ ด้าน คือ             (๑) ด้านครอบครัว (๒) ด้านเศรษฐกิจ  (๓) ด้านสังคม และ (๔) ด้านจิตใจ ซึ่งการแก้ปัญหา ๔ ด้านนี้ จะต้องรู้และเข้าใจในหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจตา รู้ว่าสรรพสิ่งต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง ทุกขตา             รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งต่างๆ เป็นทุกข์ อนัตตตา รู้ว่าไม่สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งต่างๆ ได้ เมื่อเข้าใจหลักไตรลักษณ์นี้แล้วก็จะบรรเทาทุกข์ของคนในสังคมปัจจุบันได้

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕