งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาภูมิหลังองภิกษุณีในพระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาบทบาทของภิกษุณีในพระพุทธศาสนา (๓) เพื่อศึกษาการวิเคราะห์บทบาทของภิกษุณีในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) โดยเก็บข้อมูลชั้นปฐมภูมิ จาก พระไตรปิฎกภาษาไทย และเอกสารทุติยภูมิ จากเอกสาร บทความทางวิชาการ หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาวิธีตามหลักอุปนัยโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นแนว
ผลการวิจัยพบว่า
๑) สังคมอินเดียโบราณได้กีดกันสตรีและปฏิเสธการเข้ามาบวชในศาสนาเพราะค่านิยมของสังคมและจารีตประเพณี แต่พระพุทธเจ้ายอมรับให้สตรีเข้ามาบวชในพุทธศาสนาได้จากทุกชั้นวรรณะ โดยไม่มีข้อจำกัด จนทำให้เกิดภิกษุณีรูปแรกคือพระปชาบดีโคตมีเถรีขึ้นในพระพุทธศาสนาโดยการทูลขออนุญาตของพระอานนท์หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วได้ ๕ พรรษา จากนั้นได้มีภิกษุณีอุปสมบทในพุทธศาสนาอีกจำนวนมาก
๒) บทบาทของภิกษุณี มี ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑) บทบาทด้านการเผยแพร่คำสอนพระพุทธศาสนา มีภิกษุณี จำนวน ๓ รูป ที่มีบทบาทโดดเด่น ประกอบด้วย คือ ๑. พระรูปนันทาเถรี ๒.พระธรรมทินนาเถรี ๓. พระภัททากัจจานาเถรี ๒) บทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์ มีภิกษุณี จำนวน ๒ รูป ที่มีบทบาทโดเด่น ประกอบด้วย ๑.พระภัททากุณฑลเกสาเถรี ๒. พระสิงคาลมาตาเถรี ๓) บทบาทด้านการปกครอง มีภิกษุณี จำนวน ๓ รูป ที่มีบทบาทโดเด่น ประกอบด้วย ๑. พระนางมหาปชาบดีโคตมี ๒. พระปฏาจาราเถรี ๓. พระสกุลาเถรี ๔) บทบาทด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม มีภิกษุณี จำนวน ๔ รูป ที่มีบทบาทโดเด่น ประกอบด้วย ๑. พระเขมาเถรี ๒.พระอุบลวรรณาเถรี ๓. พระโสณาเถรี ๔. พระภัททกาปิลานีเถรี ๕) บทบาทด้านสาธารณสงเคราะห์ มีภิกษุณี จำนวน ๒ รูป ที่มีบทบาทโดเด่น ประกอบด้วย ๑.พระกีสาโคตรมีเถรี ๒.พระสิงคาลมาตาเถรี
Download
|