หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระประภาส ปญฺญาคโม / ดอกไม้
 
เข้าชม : ๑๙๙๕๗ ครั้ง
การบูรณาการหลักพุทธเศรษฐศาสตร์กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของ อี เอฟ ชูเมกเกอร์
ชื่อผู้วิจัย : พระประภาส ปญฺญาคโม / ดอกไม้ ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโพธิคุณ
  อุดม บัวศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

ดุษฎีนิพนธ์นี้วิจัยเพื่อการบูรณาการแนวคิดเศรษฐศาสตร์ วิธีการดำเนินการวิจัยคือ รวบรวบข้อมูลจากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมินำมาวิเคราะห์แล้วตกผลึกแนวคิดเพื่อนิพนธ์งานนี้ ดุษฎีนิพนธ์มีวัตถุประสงค์ ประการ  คือ ๑. เพื่อศึกษาหลักพุทธเศรษฐศาสตร์ ๒. เพื่อศึกษาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของ อี เอฟ ชูเมกเกอร์ ๓. เพื่อการบูรณาการหลักพุทธเศรษฐศาสตร์กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของ อี เอฟ ชูเมกเกอร์ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          พุทธเศรษฐศาสตร์มีทางออกในการบริหารจัดการความต้องการอย่างเหมาะสม ลักษณะการดำเนินสายกลางของพุทธเศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายให้บุคคลได้รับความสุขสูงสุดที่พึงได้รับ เป็นความสุขที่เกิดจากการมีชีวิตที่ดีอย่างบริบูรณ์ ตลอดจนช่วยเหลือแบ่งปันปัจจัยในการดำรงชีวิตส่วนเกินให้แก่ผู้ที่ด้อยกว่าในสังคม ซึ่งก็คือเป้าหมายในทางพุทธเศรษฐศาสตร์

          เศรษฐศาสตร์ของชูเมกเกอร์คือ ที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์ หน่วยการผลิตแรกคือชุมชนอำนาจการตัดสินใด ๆ ควรมาจากชุมชนเท่านั้นและให้ตระหนักถึงภูมินิเวศให้มาก เพราะมนุษย์กับทรัพยากรต่างพึ่งพาอาศัยกัน ทรัพยากรต้องใช้อย่างน้อยที่สุดประหยัดที่สุด และการตัดสินใจทางเศรษฐกิจต้องตั้งอยู่บนหลักพุทธที่สำคัญคือ การละชั่วและเพียรทำดี

          แนวคิดที่สำคัญในการบูรณาการคือ ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ วิธีการ ขวัญและกำลังใจ ผลการผสานแนวคิดแบบองค์ธรรมในสี่มิติ คือ ประหยัด  ความพอดี  ประโยชน์  สันติ ในทางเศรษฐศาสตร์นี้การไม่เบียดเบียนในทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ชูเมกเกอร์เห็นว่ามนุษย์ทุกคนที่ทำงานนั้นควรเป็นไปเพื่อเป้าหมายในการเติมเต็มความเป็นธรรมชาติ เพราะทุกชีวิตร่วมอยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน ต่างพึ่งพาอาศัยกัน แสดงให้เห็นถึงความมีสันติทั้งต่อมนุษย์และธรรมชาติ การบูรณาการเชิงสังคม คือ เป็นคนเย็น เห็นใจผู้อื่น ชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ฉลาดการใช้ชีวิต มีจิตเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่สังคม อุดมด้วยความดี อุทิศชีวีเพื่อสังคม  เป็นการบูรณาการทั้งแบบ พหุเศรษฐศาสตร์และสหเศรษฐศาสตร์

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕