การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทสตรี ในการพัฒนาสังคมตามหลักของศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ๒) เพื่อศึกษาการส่งเสริมบทบาทสตรีขององค์กรศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ๓) เพื่อวิเคราะห์บทบาทสตรีตามหลักพหุศาสนากับการพัฒนาสังคม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลรวม ๓๖ รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
๑. บทบาทสตรีในการพัฒนาสังคมตามหลักพหุศาสนา (ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม) ผลการวิจัยพบว่า ทุกศาสนาได้เปิดให้สตรีมีบทบาทในกิจกรรมในแต่ละศาสนาเป็นอย่างมาก และเปิดเผย อาทิเช่น ศาสนาพุทธได้ให้สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค กับสตรีมากที่สุด โดยมอบบทบาทสตรีในบางเรื่องเท่าเทียมกับผู้ชาย เช่นเป็นกรรมการ เป็นมัคนายก สัปเหร่อหญิง ไวยาวัจกร เป็นต้น นอกเนื่องจากการเป็นผู้นำในการทำบุญ การจัดงานต่างๆ ในวัด เป็นหัวเลี้ยวหัวแรงในการจัดกิจกรรมต่างๆ ของทางวัด ส่วนศาสนาคริสต์ จะให้ความสำคัญกับสตรีเพียงการเป็นครอบครัว รักกันดังพี่น้อง ดังนั้น การแสดงบทบาทของสตรีจึงเป็นลักษณะของการแสดงความคิดเห็นในระดับครอบครัว และศาสนาอิสลาม มีความอิสระเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ เพียงแต่ว่าไม่สามารถเป็นผู้นำทางศาสนาได้เท่านั้น
Download |