หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จำลองลักษณ์ สุจริตจันทร์
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๘ ครั้ง
การพัฒนาชีวิตด้วยหลักวิริยบารมีตามแบบอย่างพระมหาชนก
ชื่อผู้วิจัย : จำลองลักษณ์ สุจริตจันทร์ ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  สุเทพ พรมเลิศ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาเรื่องวิริยบารมีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการบำเพ็ญวิริยบารมีของพระมหาชนก ๓) เพื่อเสนอแนวทาง       การพัฒนาชีวิตด้วยหลักวิริยบารมีตามแบบอย่างพระมหาชนก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร

             ผลการวิจัยพบว่า บารมี หมายถึง คุณสมบัติเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง หรือคุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ หรือคุณความดีที่ควรบำเพ็ญที่พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์จะต้องกระทำ มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา และอุเบกขา

 

             การบำเพ็ญวิริยบารมีของพระมหาชนก สัมพันธ์กับบารมีข้ออื่น ๆ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ในมหาชนกชาดกมีแนวคิดสำคัญ ๒ ประการ คือ การใช้วิริยปรมัตถบารมีควบคู่กับปัญญาบารมี การบำเพ็ญบารมีของพระมหาชนกจัดเป็นปรมัตถบารมี เป็นบารมีขั้นสูงยิ่ง เพราะการว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรนั้นไม่ใช่วิสัยที่กระทำได้ง่าย ความเพียรในมหาชนกชาดกนั้น มี ๒ ประเภท ได้แก่ ความเพียรทางกายและทางใจ ความเพียรทางกาย ได้แก่ การว่ายน้ำข้ามมหาสมุทร ส่วนความเพียรทางใจ คือ ความตั้งใจที่จะทำและการออกบวชเพื่อสลัดกามทั้งหลายและเพื่อความพ้นทุกข์ 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕