ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาอำนาจจิตและความสำเร็จในชีวิตในพระพุทธศาสนาและในจิตวิทยาสมัยใหม่ ๒. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์กันของอำนาจจิตกับความสำเร็จในชีวิตในพระพุทธศาสนาและในจิตวิทยาสมัยใหม่ ๓. เพื่อศึกษาแนวทางการอาศัยอำนาจจิตสร้างความสำเร็จในชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เอกสารทางตะวันตกและพระพุทธศาสนา
ผลวิจัยพบว่าแนวคิดจิตวิทยาของตะวันตกมีทัศนะว่า จิต หมายถึง การรับรู้ความคิดการคิด ความรู้สึกการพิจารณา ความสำรวมความคิด อำนาจจิตมีหน้าที่รู้คิดนึกและจิตสำนึกหมายถึงภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสด้วยกาย อำนาจจิตเป็นสิ่งมีอยู่จริง อำนาจจิตคือสารที่มีลักษณะพิเศษที่สามารถกำหนดลักษณะพื้นฐานของสิ่งต่าง ๆ จิตคือกลุ่มของความรู้สึกทั้งหลายที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็วมีการไหลแปรปรวนสืบเนื่องไม่ขาดสาย ความรู้สึกที่เกิดขึ้นและผ่านไปอย่างรวดเร็วประกอบกันขึ้นเป็นจิตคือความรู้ที่ผ่านทางประสาทสัมผัสเป็นพื้นฐานของความรู้ที่ผ่านกระบวนการทางจิต จิตเป็นอย่างเดียวกันกับความรู้สึกสำนึก จิตที่รู้จักคิดเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้ ดังนั้นอำนาจจิตจึงเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์รู้จักคิดมีลักษณะเป็นอสสาร จิตคือตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ จิตเป็นนามธรรมอย่างหนึ่งที่รู้จักคิดเป็นธรรมชาติรู้ภายในตัวมนุษย์และหมายรวมถึงชีวิตที่เป็นอสสาร กล่าวคือจิตเป็นนามธรรมมีกระบวนการในการตื่นรู้มีพัฒนาการด้านปัญญาและเป็นอมตะ การพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดผลทางปัญญา
Download |