หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอุดมปิฎก (วิจารณ์ มหาปญฺโญ)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระอุดมปิฎก (วิจารณ์ มหาปญฺโญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๐/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาสถานภาพของพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ในพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ในพระพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับคฤหัสถ์ในพระพุทธศาสนา งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ

 

             ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาคือบุคคลที่ละทิ้งบ้านเรือนออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อจะได้มีเวลาศึกษาธรรมและปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าอย่างเต็มที่ เมื่อบวชเป็นภิกษุแล้วก็จะมีสถานภาพดังต่อไปนี้ คือ ๑) เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อออกจากกาม (เนกขัมมะ) ๒) เป็นนักบวชไม่มีบ้านเรือน (อนาคาริก) ๓) เป็นนักบวชผู้เว้นการเสพกาม (เมถุนวิรัตติ) ๔) เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ และ ๕) เป็นนักบวชผู้เว้นจากวิถีชีวิตแบบฆราวาส (บรรพชิต) ส่วนคฤหัสถ์หมายถึงประชาชนทั่วไปทั้งชายและหญิง ที่ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงชีวิต พระพุทธองค์ทรงสอนให้พระสงฆ์กับคฤหัสถ์มีความสัมพันธ์กันโดยยึดหลักพระธรรมวินัย ในการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์ พระพุทธองค์กำหนดให้พระสงฆ์มีวิถีชีวิตเกี่ยวข้องกับสังคม ทั้งสังคมสงฆ์และสังคมคฤหัสถ์ ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์หลีกหนีสังคมไปอาศัยในป่าเขาหรือในที่ห่างไกลโดยไม่เกี่ยวข้องกับสังคม เห็นได้จากทรงกำหนดให้พระสงฆ์ทุกรูปต้องพบกับคณะเพื่อฟังพระปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน เมื่อมีกิจของสงฆ์ก็ต้องช่วยกันดำเนินการ ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ทรงกำหนดให้พระสงฆ์ต้องอาอาศัยปัจจัย ๔ จากคฤหัสถ์ ไม่อนุญาตให้พระสงฆ์ประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงชีพ หรือแม้แต่การประกอบอาหารหรือสะสมอาหารที่มากเกินความจำเป็น โดยสถานะทางสังคมพระสงฆ์มีฐานะสูงกว่าคฤหัสถ์ จัดเป็นทิศเบื้องบนที่คฤหัสถ์ควรกราบไหว้และอุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔ ขณะ เดียวกันพระสงฆ์ก็ต้องตอบแทนคฤหัสถ์ด้วยการอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕