วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาพยาบาล 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาพยาบาล 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สังเคราะห์เป็นองค์ประกอบหลักและตัวบ่งชี้ ตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า IOC 0.71- 1.00 และการสนทนากลุ่ม นำไปทดลองใช้เพื่อหาคุณภาพกับผู้บริหารและอาจารย์ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.96 และเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอน ในวิทยาลัยพยาบาลสังกัด สถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 500 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงพุทธ ของผู้บริหารสถานศึกษาพยาบาล เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ จำแนกเนื้อหาตามองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย ตามนิยามเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ความสอดคล้องโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาพยาบาลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเอมอส (AMOS) และตรวจสอบความสอดคล้องของความกลมกลืนของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย Chi-Square, CMIN/df., ดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (Comparative Fit Index: CFI) ดัชนีวัดความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) , . ดัชนีความกลมกลืนเชิงเปรียบเทียบกับรูปแบบฐาน (Incremental fit index; IFI) , ดัชนีความกลมกลืนประเภทเปรียบเทียบกับรูปแบบอิสระ (Normed fit index; NFI), . ดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้ไขแล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI), ดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA) และดัชนีรากของค่าเฉลยกำลงสองของส่วนเหลือ (Root Mean Square Residual: RMR)
Download
|