หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิภา แตงไทย
 
เข้าชม : ๒๑๐๘๒ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : วิภา แตงไทย ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๐๙/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ประเทือง ภูมิภัทราคม
  วิรัช จงอยู่สุข
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๗ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงพรรณนา (Description Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด(Least Significant Difference : LSD ) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และสรุปข้อมูลข้อเสนอแนะแนวทางโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. ความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๒๕๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๖๔ มีอายุตั้งแต่ ๔๖ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๑๑ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน ๒๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๙๓ มีประสบการณ์ทำงาน ๑๑ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๔๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๖๑ และมีตำแหน่งเป็นครูสอน จำนวน ๓๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๒

               ๒. ความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = ๓.๙๐) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้านพบว่า มีความเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน

               ๓. เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ โดยจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่งในการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้บริหารและครูสอนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และตำแหน่งในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

               ๔. ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๒ ๑) ไม่ตระหนักและเห็นความสำคัญของงานวิชาการ ๒) ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัย ๓) บุคลากรไม่มีความสามารถหรือเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ทำ และ ๔) ไม่มีการวางแผนออกแบบงาน ทำให้งานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ

สำหรับข้อเสนอแนะ คือ ๑) ควรมีความตระหนักเห็นความสำคัญของงานวิชาการซึ่งเป็นงานหลักของสถานศึกษา ๒) ควรมีการวางแผนการเงินและคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการใช้จ่ายและดำเนินการเกี่ยวกับเงินของโรงเรียน ๓) ควรหมั่นดูแลและประเมินการทำงานของบุคลากรงานบุคคลเป็นประจำเพื่อให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากยิ่งขึ้น และ ๔) ควรมีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕