บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตรนักธรรมในอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรนักธรรมในอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรนักธรรมในอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
การวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๕๓ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ จำนวน ๑๙๒ รูป วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าเอฟ (f-test) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One way Analysis of Variance) และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In Dept Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน ๑๐ ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัย พบว่า
๑. การบริหารหลักสูตรนักธรรมในอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๙๗, S.D. =๐.๕๓๑) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารหลักสูตรนักธรรมในอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวม ด้วยวิธีการทดสอบค่าเอฟ (f-test) พบว่าโดยภาพรวมพระสงฆ์ที่มีอายุ
วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้สำหรับพระสงฆ์ที่มีพรรษา
วุฒิการศึกษานักธรรม วุฒิการศึกษาสามัญมีความคิดเห็นต่อการบริหารหลักสูตรนักธรรมในอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
๓.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการบริหารหลักสูตรนักธรรมใน
อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ได้แก่
๑) ด้านหลักสูตร ภาคปฏิบัติควรเน้นให้มากกว่าหลักสูตร เวลาเรียนมีน้อยแต่เนื้อหาเยอะ ความน่าสนใจในบางเนื้อหาวิชาน้อยไปควรเน้นภาคปฏิบัติให้มากเพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง เพิ่มเวลาเรียน หรือให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติมนอกจากเวลาเรียน ปรับปรุงเนื้อหา รูปแบบ รูปลักษณ์ และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนา
๒) ด้านกระบวนการเรียนการสอน ตำราหรือเอกสารเพื่อการศึกษาในสำนักเรียนมีให้ค้นคว้าไม่เพียงพอ จำนวนนักเรียนมากห้องเรียนมีขนาดใหญ่อธิบายไม่ค่อยชัดเจน บางครั้งผู้สอนขาดทักษะ และความชำนาญในการสอนควรจัดให้เพียงพอ และคลอบคุมในทุก ๆ ด้าน ควรแบ่งห้องเรียนให้มีขนาดพอเหมาะสำหรับการเรียนการสอนที่ทั่วถึงกัน ควรมีการฝึกอบรมการสอน เพิ่มพูนประสบการณ์แก่ผู้สอน ก่อนทำการสอนจริง
๓) ด้านการวัดผลและการประเมินผล มีการวัดและประเมินผลน้อย ไม่มีการบูรณาการทำแบบทดสอบ ในการวัดผลประเมินผลการศึกษาขาดความหลากหลายเมื่อเรียนจบบทแล้ว ควรทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบบ่อย ๆ และบูรณาการแบบทดสอบให้เข้ากับยุคปัจจุบัน ควรมีวิธีทดสอบ วัดผลประเมินผลแบบใหม่
๔) ด้านงบประมาณในการสนับสนุนส่งเสริม เจ้าสำนักเรียน มีการจัดกองทุนในการให้การศึกษามีน้อย ไม่เพียงพอแก่พระภิกษุและสามเณรที่เข้ารับทุน สำนักเรียนยังขาดแคลนงบประมานต่าง ๆ เพื่อให้การจัดการศึกษานักธรรมพัฒนาขึ้น เจ้าสำนักเรียนควรจัดหาทุนในการช่วยเหลือสนับสนุนส่งเสริมให้เป็นระบบและมีผู้ดูแลอย่างชัดเจนและเข้มแข็งเพื่อการประสานงานที่ดี ควรมีการสรรหางบประมาณสนับสนุนจากทางราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจะได้มีส่วนร่วม
ดาวน์โหลด
|