บทคัดย่อ
การการวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัดในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัดในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัดในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed - Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพระสงฆ์ในอำเภอบ้านบึง
จังหวัดชลบุรี ได้จำนวน ๒๑๐ รูป จากพระสงฆ์ทั้งหมด ๔๔๐ รูป โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง
ของ ทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ที่ ๐.๘๓๕ เป็นคำถามแบบปลายเปิดและปลายปิด โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงแบนมาตรฐาน
และทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-Test) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
๑) พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัด
ในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๔.๑๒) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการบริหารงานบุคคล
ด้านการอำนวยการ และด้านการควบคุม ตามลำดับ
๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัดในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ,พรรษา,วุฒิการศึกษานักธรรม,วุฒิการศึกษาสามัญ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ ประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัดในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ ๐.๐๕ จึงเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาสามัญ พระสงฆ์ที่มี
วุฒิการศึกษาเปรียญธรรม วุฒิการศึกษาสามัญ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัดในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
๓) ปัญหา อุปสรรค ประสิทธิผลการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของวัดในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พบว่า ๑) ผู้ที่จะอุปสมบทไม่เคยมาอยู่วัดและไม่ได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ในกิจวัตรต่างๆ ของความเป็นพระสงฆ์ ๒) ขาดงบประมาณในการสนับสนุนให้พระสงฆ์และสามเณรให้ได้รับการศึกษา
๓) พระสังฆาธิการไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภายในวัด ๔) พระสังฆาธิการมีการไม่มีการมอบหมายหน้าที่ต่างๆ ภายในวัดให้กับพระสงฆ์และไม่มีการให้ตำแหน่งทางคณะสงฆ์แก่พระสงฆ์และไม่มีการให้นิตยภัตพระสงฆ์ภายในวัดภายในวัด ข้อเสนอแนะ พบว่า ๑) พระอุปัชฌาย์ควรมีการให้ผู้ที่จะอุปสมบทต้องมาอยู่ประจำที่วัดก่อนได้รับการอุปสมบทอย่างน้อย ๗-๑๕ วัน และควรมีการให้ผู้ที่จะอุปสมบทได้รับการฝึกฝนเรียนรู้ในกิจวัตรต่างๆ ของความเป็นพระสงฆ์ก่อนได้รับการอุปสมบท ๒) พระสังฆาธิการควรมีการจัดหางบประมาณและให้การสนับสนุนให้พระสงฆ์และสามเณรได้รับการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ๓) พระสังฆาธิการควรมีการบริหารจัดการวัดแบบมีส่วนร่วมเพื่อความสามัคคีภายในวัด ๔) พระสังฆาธิการควรมีการมอบหมายหน้าที่ตำแหน่งทางคณะสงฆ์และควรมีการให้นิตยภัตพระสงฆ์ภายในวัดภายในวัด
ดาวน์โหลด
|