หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอนงค์ กตปุญฺโญ (หล้าทองอินทร์)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบการให้ทานสมัยพุทธกาลกับปัจจุบัน :ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอนงค์ กตปุญฺโญ (หล้าทองอินทร์) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ดร. ประยูร แสงใส
  ศ.ดร. เอกฉัท จารุเมธีชน
  พระมหาบาง เขมานนฺโท
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ เมษายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

   วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการให้ทานในสมัยพุทธกาล

กับสมัยปัจจุบัน โดยใช้กรณีชาวพุทธตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการ
ศึกษาทั้งจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรผู้ให้ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าจุดประสงค์การให้ทานในปัจจุบันของชาวพุทธตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น เหมือนกันกับสมัยพุทธกาล คือ ให้ทานเพื่อบูชาคุณ ให้แก่ผู้ที่มีอุปการะคุณแก่ตน ให้แก่คนที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตน ให้เพื่ออนุเคราะห์ และ ให้เพื่อตัดความตระหนี่ แต่ที่แตกต่าง คือ มีบางส่วนให้ทานยังมุ่งผลประโยชน์ตอบแทนลักษณะของการให้ทานในสมัยพุทธกาลเหมือนกันกับปัจจุบัน คือ วัตถุทานที่ให้ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ เภสัช และทานวัตถุ ๑๐ประการ วิธีการให้มีลักษณะดังนี้ ให้ทานด้วยศรัทธา ให้ทานโดยเคารพอ่อนน้อม ให้ทาน
ตามกาล ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ให้ทานไม่กระทบกระทั่งตนและคนอื่น ถวายเป็นสังฆทาน ถวายเป็นบุคลิกทาน ให้ของที่ไม่เป็นเดน ถวายไทยธรรมด้วยมือตนเอง มีความตั้งใจก่อนที่จะทำทาน ทำจิตให้เป็นกุศล เชื่อว่าการทำบุญให้ทานทำให้มีความสุข ความอิ่มใจในปัจจุบัน แสวงหาไทยธรรมสิ่งของที่ควรให้ทาน ไทยธรรมเป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบธรรม ให้ของที่สะอาด ให้ของที่ประณีต เลือกสิ่งที่ให้ ให้เป็นนิตย์ กำลังให้ก็ทำจิต
ให้ผ่องใส ครั้นให้แล้วก็ดีใจ
ประเภทของการให้ทานมี ๒ ชนิดเหมือนกัน คือ ๑. อามิสทาน การให้วัตถุ
สิ่งของต่างๆ มีให้ข้าว น้ำ ยารักษาโรค ๒. ธรรมทาน คือ การให้ธรรมเป็นทาน ได้แก่การ
แนะนำสั่งสอนอบรมให้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตรูปแบบและวิธีปฏิบัติในการให้ทานของชาวพุทธตำบลเมืองเก่า คือการทำตามคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา และทำตามวัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านโบราณที่ได้ปฏิบัติ
สืบทอดเป็นมรดกต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ฮีตสิบสอง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่มีความแตกต่างจากสมัยพุทธกาล ที่ชาวอีสานได้ยึดถือเป็นแบบแผนในการทำบุญให้ทาน ที่นิยมปฏิบัติประจำมีดังนี้ บุญเข้ากรรม บุญคูณลาน บุญเข้าจี่ บุญสงกรานต์ บุญบั่งไฟ บุญชำฮะะ บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก ส่วนบุญพระเวส บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษาบุญกฐิน เป็นรูปแบบการทำบุญตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกอยู่ในวัฒนธรรมพื้นบ้านชาวตำบลเมืองเก่าได้อย่างกลมกลืนเหมาะสม

Download : 255185.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕