หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกีต้าร์ กิตฺติวุฑฺโฒ (วิไลวงศ์)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๔ ครั้ง
การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระกีต้าร์ กิตฺติวุฑฺโฒ (วิไลวงศ์) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สังวาลย์ เพียยุระ
  พระครูสโมธานเขตคณารักษ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว จำแนกตาม สถานภาพ อายุ และ วุฒิการศึกษา และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว การวิจัยวิธีวิทยาแบบผสม ๑) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้ปกครอง การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์ แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว จำนวน  ๓๐๒ โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของเครซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ใช้วิธีการการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม  มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .๙๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และด้วยการทดสอบค่าที (t–test แบบ Independent sample) ใช้ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe’ method) ๒) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาข้อสรุป

 

              ผลการวิจัย พบว่า :

              ๑. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว

              ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว    ซึ่งประกอบด้วยด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก            (  =๔.๐๓)

     . เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครอง มีความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว โดยแยกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี สถานภาพ อายุ วุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็น ต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

     ๓. แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท ๔ ของโรงเรียนมัธยมสงฆ์แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว คือ

              ๑) ผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองรวมไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนําไปพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนตามหลักอิทธิบาท ๔ โรงเรียนมัธยมสงฆ์  โดยต้องมีใจ ใช้ปัญญา เสียสละ อดทน

              ๒) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครอง ควรนําหลักอิทธิบาท ๔ เป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนมัธยมสงฆ์

              ๓) ประธานกลุ่มโรงเรียนจัดทําแผนสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบุคลากรกับผู้ปกครองเพื่อพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนตามหลักอิทธิบาท ๔ โรงเรียนมัธยมสงฆ์ มาใช้ในการปฏิบัติงานให้ประสบความสําเร็จ           

          ๕) ผู้บริหารควรให้การอบรมครูผู้สอนและผู้ปกครองในเรื่องพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนตามหลักอิทธิบาท ๔ โรงเรียนมัธยมสงฆ์

Download

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕