บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา ๒) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ๓) ศึกษาแนวทางการใช้หลักพรหมวิหาร ๔กับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejeie and Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๖๙ คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร จำนวน ๒๒ คน และครู จำนวน ๑๔๗ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง ๐.๖๐ ถึง ๑.๐๐ และมีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๗ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบความแตกต่างทางสถิติโดยใช้ t-test และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเมตตา รองลงมา คือ ด้านมุทิตา ด้านอุเบกขา และลำดับสุดท้าย คือด้านกรุณา
๒. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามตำแหน่งและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
๓. แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดนครราชสีมา มีดังนี้ ๑) ด้านเมตตา ผู้บริหารควรแสดงความรักความเมตตา และเอาใจใส่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวครัวเดียวกัน ๒) ด้านกรุณา ผู้บริหารควรมีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการ ให้ความช่วยเหลือแบ่งปันนำใจหรือสงเคราะห์ ทั้งทางด้านวัตถุ กำลังกายและกำลังใจ ๓) ด้านมุทิตา ผู้บริหาร ควรทำตนเป็นกัลยาณมิตรมากกว่าเป็นผู้บังคับบัญชา รู้จักเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับที่ดี ยกย่องให้เกียรติลูกน้อง กำกับติดตามอย่างใกล้ชิด ควรส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจงาน ๔) ด้านอุเบกขา ผู้บริหารต้องรู้จักวางเฉย ทำใจเป็นกลาง ไม่ปฏิบัติเอนเอียงด้วยความรักหรือชัง มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ไม่เห็นแก่ตัว ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการบริหารคน ให้ความรักความเป็นธรรมกับทุกคน
ดาวน์โหลด
|