บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กลุ่ม ๑ ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กลุ่ม ๑ และ๓. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กลุ่ม ๑ เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพของงานวิจัย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชน จำนวน ๒๑๔ คน ๖ โรงเรียน ใช้สถิติหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบค่าที (t-test) (F-test) กรณีตัวแปรมากสองกลุ่มแบบ One Way ANOVA
ผลการวิจัย
๑. ผลการวิจัยความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชนมีต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔ โรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี กลุ่ม ๑ ภาพรวม ทุกด้าน อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา
๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชนที่มีอายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของชุมชนตามหลักสังหควัตถุ ๔ ภาพรวม หาค่า (t-test) ปรากฏว่า ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชน ที่เป็นชาย มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔ สูงกว่า ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชนที่เป็นหญิง
๓. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้นำชุมชนที่มี อายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานวิชาการของชุมชนตามหลักสังหควัตถุ ๔ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีกลุ่ม ๑ โดยภาพรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ รายด้าน มีด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้นำชุมชนมีความคิดเห็น แตกต่างกัน จึงทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffe ปรากฏว่า ไม่แตกต่างกัน
๔. แนวทางการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน มีดังนี้
๔.๑ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเอื้อเฟื้อ อาหารกลางวันแก่นักเรียน ร่วมมือพัฒนางานวิชาการ จัดหางบประมาณซื้อสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนร่วมกับสถานศึกษา
๔.๒ ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ชุมชนร่วมส่งเสริมคุณธรรมทุกด้านให้กับนักเรียน และร่วมการสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
๔.๓ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ชุมชนมีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนกับโรงเรียน
๔.๔ ด้านการนิเทศการศึกษา มีกิจกรรมสร้างภาวะความเป็นผู้นำตามระบอบการปกครองตามประชาธิปไตย มีความเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่นโดยยึดประโยชน์ส่วนรวม และการวางตนเองเป็นกลาง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ดาวน์โหลด
|