หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกันตพัฒน์ สุภทฺโท (เจริญจรัสวาศน์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๑ ครั้ง
การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัด กรุงเทพมหานคร(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระกันตพัฒน์ สุภทฺโท (เจริญจรัสวาศน์) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  บุญเชิด ชำนิศาสตร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๖ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาสภาพการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร                ๒. เพื่อพัฒนาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร ๓. เพื่อเสนอแนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา  เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน ๘๒ คน เครื่องมือที่ใช้การการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าที (t-test) และ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

๑. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง        ถึงระดับมาก

๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นผู้บริหารครูและบุคคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยการทดสอบสมมติฐานการวิจัยหาค่า (t-test) และ (F-test) ตามปัจจัยส่วนบุคคล มีด้านเพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่งทางการบริหาร ประสบการณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๐.๐๕

๓. ข้อเสนอแนะ

ด้านที่ ๑ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร พบว่าถ้าใช้สื่อจากหนังสือแบบเรียน           ของกระทรวงศึกษาทำให้ผู้เรียนไม่สนใจผู้วิจัยจึงได้ทดลองใช้วิธีการนำสื่อสำเร็จรูปจากแผ่นซีดี     เปิดให้ผู้เรียนได้เรียนปรากฏว่าผู้เรียนส่วนใหญ่สนใจและตั้งใจเรียนมากขึ้น

ด้านที่ ๒ นวัตกรรมการเรียนการสอน พบว่าผู้สอนปรับวิธีการสอนใหม่ แทนที่จะเรียนจากหนังสือ มาใช้วิธีการสร้างสื่อประกอบการสอนหรือใช้สื่อแบบเรียนสำเร็จรูป จะทำให้ผู้เรียน      มีความสนใจและกระตือรือร้นมากขึ้น

ด้านที่ ๓ นวัตกรรมสื่อการสอน พบว่าสื่อที่นำมาทดลองใช้กับนักเรียน เป็นสื่อประเภทสำเร็จ รูปภาพ แผ่นซีดีบทเรียนสำเร็จรูป

ด้านที่ ๔ นวัตกรรมการประเมินผล พบว่าพบว่าหลังจากจบบทเรียนทุกครั้ง โดยใช้วิธีประเมินผลหลังเรียนและมีการมอบหมายงานให้ทำแบบฝึกหัดทางคอมพิวเตอร์ นักเรียนมีความสนใจมากขึ้น

ด้านที่ ๕ นวัตกรรมการบริหารจัดการ พบว่ามีการสนับสนุนหางบประมาณในด้าน การจัดหาสื่อทางด้านคอมพิวเตอร์มาให้ครูและนักเรียนเพื่อใช้การเรียนการสอน

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕