บทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาหลักสังคหวัตถุ ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาประวัติ วิถีการดำเนินชีวิตในสังคมของนางวิสาขามหาอุบาสิกา (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทของนางวิสาขามหาอุบาสิกาในการเสริมสร้างสังคม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสาร
ผลการวิจัยพบว่า
(๑) สังคมจะเกิดสันติสุขจะต้องเกิดจากความรัก ความสามัคคี ความเอื้อเฟื้อต่อกันปฏิบัติต่อกันตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ซึ่งประกอบไปด้วย (๑) ทาน คือการให้การอนุเคราะห์ (๒) ปิยวาจา วาจาที่อ่อนหวานจริงใจ (๓) อัตถจริยา การที่เป็นคนเสียสละตนเองเพื่อส่วนรวม (๔) สมานัตตตา การเป็นบุคคลที่เสมอต้นเสมอปลาย กล่าวได้ว่า สังคหวัตถุ ๔ เป็นหลักปฏิบัติที่ถือได้ว่าสามารถนำมาบริหารจัดการคนในสังคมให้มีสันติสุข เนื่องจากหลักธรรมนี้เป็นหลักแนวคิดที่เป็นกำลังแห่งการสงเคราะห์ หรือ มนุษยสัมพันธ์เป็นการประสานใจสมาชิกในสังคมให้เกิดสันติสุข
(๒) วีถีการดำเนินชีวิตของนางวิสาเป็นผู้หญิงเก่งฉลาด ควรนำมาเป็นต้นแบบให้กับผู้หญิงสมัยใหม่ นางมีวิธีการในการจัดการปัญหาได้ อย่างชาญฉลาดและและรอบคอบรู้จักการวางตน และมีความอดทน พยายามในการใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวสามีและอยู่กับพระพุทธศาสนาอย่างมีความสุขได้
(๓) จากการทำวิจัยนี้ ผู้วิจัยสามารถนำมา ถอดบทเรียนในลักษณะมิติใหม่ที่เป็นหลักสังคหวัตถุในอีกมุมมอง คือ การใช้ 4S ให้เข้ากับสังคมโดยเฉพาะสังคมปัจจุบัน ที่ยังมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ หลักสังคหวัตถุนี้เป็นประตูด้านแรกของการนำพา ตนเอง ครอบครัว สังคม ให้ไปสู่สภาวะของความสุขสงบ ร่มเย็นการที่ไม่มีปัญหา เพราะปัญหาได้ผ่านกระบวนการขัดเกลา ของสังคหวัตถุ ๔ ไปแล้วย่อมเกิดความสันติสุขแน่นอน หลักสังคหวัตถุในอีกมุมมองโดยการใช้ 4S ดังกล่าวแล้ว คือ Settle สงบ Satisfied สุข, Smart สวยสง่า, Settle สงบ, Sociability สม่ำเสมอในการวางตน ซึ่งได้มาจากความเข้าใจของหลักสังคหวัตถุ ที่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์สำหรับ สตรียุคสมัยใหม่อีกด้วยเพื่อนำพาให้สังคมไปสู่สันติอย่างมั่นคง
ดาวน์โหลด
|