บทคัดย่อ
สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิกฤตการณ์ขาดขันติธรรมในสังคมไทย เพื่อศึกษาขันติธรรมธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ เพื่อประยุกต์ใช้หลักขันติธรรมเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในสังคมไทยปัจจุบัน วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า วิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทยนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ประมวลผลรวมของสาเหตุทั้งได้สองอย่างคือความขัดขัดแย้งที่เกิดจากภายนอก และความขัดแย้งที่เกิดจากภายใน ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพจิตของมนุษย์ หากปราศจากความอดทนเสียแล้ว คุณงามความดีต่างๆที่เราได้สั่งสมไว้ อาจจะพังทลายลงได้ อารมณ์เพียงชั่ววูบ ที่เกิดจากการขาดความยั้งคิด ขาดความอดทน ไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองให้ดี พระพุทธองค์ถึงได้ตรัสว่า ผู้มีขันติธรรมประจำใจ จึงได้ชื่อว่านำประโยชน์สุขมาให้ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น ผลที่เกิดแต่การมีขันติธรรมนั้น ทำให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้มีความสุขในสังคมร่วมกัน
ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้นทางกาย ทางใจ ไม่ประพฤติล่วงละเมิดและแสดงกิริยาที่เหมาะสม ขันตินับเป็นคุณธรรมสําคัญที่บุคคลควรนํามาประพฤติเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ดีงาม ประเภทของขันติธรรมมี ๔ อย่างคือ ความอดทนต่อความลำบาก ความอดทนต่อทุกขเวทนา ความอดทนต่อความเจ็บใจ ความอดทนต่ออำนาจกิเลส ขันติในแง่ที่เป็นคุณธรรมสนับสนุนให้การดํารงชีวิตประจําวันบรรลุเป้าหมาย ขันตินับเป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนในการดํารงชีวิตของบุคคลให้ประสบกับสิ่งที่ดีงาม ดังที่ผู้วิจัยได้จําแนกขันติไว้ ๒ ลักษณะ คือ ขันติสําหรับการดํารงชีวิตประจําวัน และขันติสําหรับการพัฒนาตนไปสู่ความดีงาม เพราะการประพฤติขันติย่อมแสดงอาการอดทน อดกลั้นเพื่องดเว้นจากการเบียดเบียน งดเว้นจากการประพฤติชั่ว ทางกาย ทางวาจา ควบคุมกาย วาจาให้เรียบร้อย ผู้ประพฤติขันติจึงรักษาศีล รักษาความปกติเอาไว้ได้ ขันติ จึงมีลักษณะเป็นทั้งคุณธรรมและศีลธรรม
การประยุกต์หลักขันติธรรมในครอบครัวควรยึดหลักประกัน ๕ ประการของเบญจศีล- เบญจธรรม คือ หลักประกันร่างกาย หลักประกันทรัพย์สิน หลักประกันครอบครัว หลักประกันสังคม และหลักประกันตนเอง ๕ ข้อนี้เป็นกฎระเบียบและเป็นหลักประพฤติปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับมนุษย์ทุกคน ขันติธรรมในการประกอบอาชีพ คือการประกอบสัมมาอาชีวะ ด้วยการเลี้ยงชีพชอบทางกาย ทางวาจาและทางใจอย่างมีความอดทนดำเนินชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ ขันติธรรมในการบริหารประเทศ การนำหลักขันติธรรมมาใช้บริหารตนตามแนวแห่งสัปปุริสธรรม ๗ การบริหารคนโดยการบริหารตามแนวทางแห่งพละ ๔ และการบริหารงานตามแนวทางแห่งอิทธิบาท ๔ นอกจากนี้การใช้หลักขันติธรรมในการฟัง การคิด และการอบรมอย่างมีความอดทนนั้นจะทำให้เกิดปัญญา เมื่อนำหลักขันติธรรมมาเสริมสร้างครอบครัวและสังคมมาใช้ร่วมกับหลักพุทธธรรมในการบริหารประเทศแล้ว
จะทำให้เกิดความสุข สงบในประเทศได้
ดาวน์โหลด
|