บทคัดย่อ
จากการวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ตามหลักสังควัตถุ (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในยุคปัจจุบัน (๓) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดและทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่ยกย่องการให้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ทางวัตถุหรือความรู้แก่บุคคล เพราะการให้เป็นการนำประโยชน์มาสู่สังคมในการอยู่ร่วมกัน ดังที่พระพุทธองค์ได้วางแนวทางไว้ในสังคหวัตถุ ๔ ผู้วิจัยนำเสนอหลักธรรมดังกล่าวมาใช้ศึกษาในงานวิจัยเพื่อให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR)
จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในยุคปัจจุบัน ที่ต้องการให้บุคคลและสังคมดำเนินกิจกรรมด้วยความดีงาม รับผิดชอบในส่วนของการกระทำทุกๆ การกระทำ เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่ องค์กรต่างๆ จึงหันมาให้ความสำคัญกับกระแสของปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปัญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในองค์กรภาคธุรกิจดำเนินการกิจการเพื่อป้องกันความขัดแย้งจากผลกระทบในการดำเนินกิจการ
ผลจากการวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พบว่า การดำเนินธุรกิจของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ปฏิบัติตามนโยบายของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมุ่งหมายให้การดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการใส่ใจ ดูแลรักษาสังคมและสิ่งแวดล้อม ภายใต้หลักจริยธรรมการกำกับดูแลที่ดีในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
ดาวน์โหลด
|