สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธี ๒) เพื่อศึกษาการจัดการความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ๓) เพื่อวิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธีระหว่างชุมชนกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจาก ตำรา เอกสารทางวิชากร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การจัดจำแนกข้อมูลตามวัตถุประสงค์วิจัย และการเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างขุมชนกับสนามบินสุวรรณภูมิ ในการจัดการความขัดแย้ง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
ผลการวิจัยพบว่า ความขัดแย้ง คือ ลักษณะของความไม่เห็นพ้องต้องกันระหว่างสมาชิกหรือกลุ่มในองค์การ ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวอาจจะสะท้อนออกมาในรูปของความไม่รุนแรง หรือรุนแรงก็ได้ การจัดการความขัดแย้งมีแนวทางในการจัดการที่แตกต่างกันออกไป ทั้งกระบวนการที่ไม่เป็นทางการและเป็นส่วนตัว แต่มีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ บุคคลที่จะนำวิธีการที่ได้นำเสนอไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านการทำมาหากิน ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงจากอาชีพเดิม มีรายได้ลดลง การเปิดใช้สนามบินเสียงขึ้นลงของเครื่องบินก่อความรบกวนต่อการนอนหลับ การพักผ่อน การเรียนรู้ของนักเรียน
จากการวิเคราะห์การจัดการความขัดแย้งโดยพุทธสันติวิธีระหว่างชุมชนกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พบว่า การจัดการตามหลักสาราณียธรรม ๖ สามารถช่วยส่งเสริมความเข้าใจที่ดีงามของประชาชนต่อสุวสรรณภูมิ สามารถดำเนินชีวิต หรือพักอาศัยอยู่รวมกันได้อ่างมีความสุข โดยอาศัยความปรารถนาดีต่อกัน ทั้งทางกาย วาจา ใจ ความประพฤติที่เรียบร้อย มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน และ เกื้อกูลในสิ่งที่ขาดแคลน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
ดาวน์โหลด
|