สารนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ชุมชนและการจัดการท่องเที่ยวชุมชน (๒) เพื่อศึกษาปัญหาและการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย (๓) เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วยอัตลักษณ์ชุมชนและหลักพุทธสันติวิธี
ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งชุมชนควรจะช่วยกันรักษาวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของท้องถิ่นด้วยให้ได้การควบคุมรักษาวัฒนธรรมชุมชนหรืออัตลักษณ์ชุมชน ต้องบริหารจัดการควบคุมด้วยชุมชนที่ต้องมีส่วนร่วมหนทางในการปฏิบัติของการอยู่ร่วมกันด้วยหลักสาราณียธรรม ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งทางพุทธสันติวิธีที่จะช่วยเชื่อมประสานสมาชิกชุมชนให้มีทิศทางและแนวคิดจะรักษาอัตลักษณ์ชุมชนเป็นหนึ่งเดียวกันอันจะส่งผลให้การจัดการท่องเที่ยวชุมชนมีความยั่งยืน
ปัญหาและของการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนเชียงคาน จากการศึกษาพบว่าเชียงคานเริ่มมีปัญหาในเรื่องคนนอกพื้นที่ซึ่งส่งผลต่ออัตลักษณ์ของชุมชนที่เริ่มเปลี่ยนไป ทำให้ต้องมีการวางแผนในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในชุมชนจนเกิดธรรมนูญชุมชนเชียงคานอย่างเป็นรูปธรรม
แนวทางในการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนด้วยอัตลักษณ์ชุมชนเชียงคานพบว่า ชุมชนได้มีการจัดการปัญหาความขัดแย้งตามหลักพุทธสันติ กล่าวคือ หลักสาราณียธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันมีการแบ่งปันผลประโยชน์กัน มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ทำให้ชุมชนเชียงคานสามารถคงอัตลักษณ์ของชุมขนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนสืบต่อไป
ดาวน์โหลด
|