บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวเชิงพุทธ : กรณีศึกษาวัดใหญ่ บางปลากด และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มาท่องเที่ยวภายในวัดใหญ่ บางปลากด จำนวน ๓๒๒ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire)
ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวของวัดใหญ่ บางปลากด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๖๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๘ เพศชาย จำนวน ๑๕๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๒ ส่วนใหญ่มีอายุ ๒๑-๓๐ ปี ร้อยละ ๒๙.๑ อายุ ๓๑-๔๐ ปีร้อยละ ๒๕.๗ มีระดับการศึกษาอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ ๓๖.๔ และมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท/โรงงาน ร้อยละ ๓๑.๙
นักท่องเที่ยวมีความเห็นเกี่ยวกับการจัดการ ด้านพุทธศิลป์ เห็นว่า เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น เป็นแหล่งพักผ่อนและให้ความเพลิดเพลินใจได้ดี มีความสวยงามของพุทธศิลป์ภายในวัด ในด้านการให้บริการ โดยภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก (x̄= ๔.๑๐)มีภาชนะรองรับขยะตามจุดต่าง ๆ ไว้บริการอย่างทั่วถึง ด้านความสะดวกสบายในการท่องเที่ยว โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x̄= ๔.๐๔) เห็นว่า ห้องน้ำสะอาดเหมาะสมกับเป็นวัดท่องเที่ยว มีที่จอดรถเพียงพอด้านแหล่งเรียนรู้ที่มีสาระประโยชน์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก (x̄= ๓.๙๖) นักท่องเที่ยวมีความเห็นเกี่ยวกับการจัดการ เห็นว่า แหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมที่มีในวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสม นักท่องเที่ยวมีความเห็นว่าแนวทางในการพัฒนาจิตใจและปัญญา คือได้รับความรู้และหลักการในทำบุญทำทานได้รับแนวทางในการดำเนินชีวิตคือไม่ประมาทในชีวิตดำเนินชีวิตด้วยความมีสติและผลที่ได้รับจากการเดินทางมาท่องเที่ยวคือรู้สึกมีความสุข
ดาวน์โหลด
|