บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) เพื่อศึกษาความพยาบาทที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท๒) เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระนวนิยายเรื่อง บ่วง๓) เพื่อศึกษาการนำหลักธรรมในนวนิยายเรื่อง “บ่วง” มาใช้ในการดำเนินชีวิตการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฏก อรรถกถาและคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนารวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมาเรียบเรียง พรรณนาตรวสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลของการศึกษพบว่า
ผลของการวิจัยพบว่าความพยาบาท ในความหมายของพระพุทธศาสนาเถรวาทหมายถึง ความปองร้าย การผูกอาฆาต พยาบาทเกิดจากความขัดเคือง ไม่พอใจ คือ โทสะซึ่งเป็นอกุศลจิตซึ่งจะทำหน้าที่ผูกจิตของผู้โกรธให้มีความคับแค้นใจมากขึ้น จนโกรธแค้นและจองเวรผูกเป็นพยาบาทต่อผู้ที่เป็นอริ จัดเป็นอกุศลกรรมบถข้อหนึ่งในอกุศลกรรมบท ๑๐ อย่าง มีผลทำให้จิตร้อนรนเผาไหม้เหมือนไฟไหม้ เจ็บแสบอยู่ตลอดเวลา หากเสียชีวิตในขณะจิตมีพยาบาทรุนแรงย่อมส่งผลให้เกิดในอบายภูมิอย่างเดียว
เนื้อหาสาระนวนิยายเรื่องบ่วง ได้นำเสนอตัวละครคือ ผีนางแพงได้ผูกพยาบาทเพราะต้องการความเป็นใหญ่ในเรื่องความรักจากสามีในฐานะภรรยาในอดีตชาติ ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นสถานภาพของผู้หญิงในสังคมที่ถูกบริบทและค่านิยมทางสังคมเป็นผู้กำหนด จนทำให้เกิดความ
อยุติธรรมแก่ผีนางแพงจนติดตามพยาบาทสามีและผู้หญิงอื่น จนสุดท้ายได้รับโทษของความพยาพาทจึงปล่อยวางความพยาบาทด้วยการให้อโหสิกรรม
หลักธรรมในนวนิยายเรื่องบ่วงที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตคือ (๑) เบญจศีล (๒) อโทสะ (๓) สติ (๔) เมตตา (๕) ฆราวาส ธรรม (๖) หิริโอตตัปปะ (๗) สติปัฏฐาน ๔ตามหลักของศาสนาถือว่าหลักคำสอนอยู่ในระดับเบื้องต้น คือ การปฏิบัติตามหลักเบญจศีลในเบื้องต้นซึ่งเป็นหลักธรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาชีวิตของมนุษย์เพื่อดับความโกรธคนต้องพยายามรู้เท่าทันและเจริญเมตตาอโหสิกรรมเนือง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความโกรธเกิดขึ้นได้อีก
ดาวน์โหลด
|