บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์๓ ประการเพื่อศึกษาจิตวิญญาณและความสุขในพุทธศาสนาเพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวบรวม เรียบเรียง และบรรยายเชิงพรรณนาจากการศึกษาพบว่า
ความสุขทางจิตวิญาณในพระพุธศาสนา เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบความดี ความงาม ความมีเมตตากรุณาและคุณธรรมภายในจิตใจส่งผลเป็นความสุขความสุขทางจิตวิญญาณจะสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ด้วยการให้ทาน การรักษาศีลและการเจริญจิตภาวนาหรือทำสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต เมื่อจิตเป็นสุข มีความมั่นคงทางอารมณ์ ผลของการแสดงออกต่อบุคคลรอบข้างย่อมเป็นไปในทางที่ดี
หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมีทั้งหลักธรรมที่ควรได้ยึดเป็นหลักให้ปฏิบัติตามและหลักธรรมที่ควรละเพราะเมื่อละได้แล้วก็จะนำมาซึ่งความสุขได้แก่อกุศลมูล ๓ คือความโลภ (โลภะ) ความโกรธ (โทสะ) และความหลง (โมหะ) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางใจเป็นหลักธรรมที่ผู้สูงอายยุควรละ หลักพรหมวิหาร๔ อธิษฐาน๔ อิทธิบาท๔ สังคหวัตถุ๔ เป็นหลักธรรมที่ควรยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพราะเป็นหลักธรรมที่นำมาซึ่งความสุขกายและใจ ผู้สูงอายุควรเลือกหลักธรรมปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัยของตนเอง
การใช้หลักธรรมเสริมสร้างความสุขของผู้สูงอายุแบ่งออกได้๔ ด้าน ๑) คือด้านร่างกายควรมีศีลเป็นพื้นฐานเพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดี ๒) ด้านจิตใจควรจะหมั่นทำบุญใส่บาตร แบ่งปันความสุขทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ความเมตตาเอื้อเฟื้อและมีน้ำใจ๓) ด้านสังคม และการอยู่ร่วมกันควรมีเมตตากรุณาอาศัยความเข้าใจและการมองโลกในแง่ดี ๔)ด้านเศรษฐกิจและรายได้ควรเว้นจากอบายมุข ๖ รู้จักจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้มีเมตตาช่วยเหลือแบ่งปัน
ดาวน์โหลด |