หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอาทรประชาสรรค์ [บุญชัด ชนาสโภ (รอดกลับ)]
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๕ ครั้ง
ศึกษาการประยุกต์หลักธรรมเพื่อสนับสนุนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอาทรประชาสรรค์ [บุญชัด ชนาสโภ (รอดกลับ)] ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชัยชาญ ศรีหานู
  พระเทพสุวรรณเมธี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อคือ ๑) เพื่อศึกษาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง๓)เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักธรรมเพื่อสนับสนุนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาคือ พระไตรปิฎก อรรถกถา งานวิจัยและเอกสารต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ บรรยายโดยวิธีการพรรณนา แล้วจึงนำไปตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

ผลของการวิจัยพบว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙เป็นหลักเศรษฐกิจที่สามารถพึ่งพิงตัวเองให้มีปัจจัยพื้นฐานของชีวิตอย่างพอเพียงโดยไม่เดือดร้อน มีหลัก ๓ ขั้น คือ ๑) มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเอง ๒)รวมพลังเป็นกลุ่มเพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ ๓) สร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรที่หลากหลาย โดยมีปรัชญาคือการพอประมาณ มีเหตุผลและภูมิคุ้มกันตัวเอง หลักการดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติทางสายกลางและการพัฒนามีขั้นตอนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

หลักธรรมที่สนับสนุนหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ หลักทิฏฐธัมมิกัตถะ ๔ ประกอบด้วย๑) อุฏฐานสัมปทา ขยันหมั่นเพียร ในการปฏิบัติหน้าที่การงานและการประกอบอาชีพสุจริต ๒) อารักขสัมปทา คือ รู้จักคุ้มครองเก็บรักษาโภคทรัพย์ไว้๓) กัลยาณมิตตตา คบหากัลยาณมิตรไม่เอาอย่างผู้ที่ชักจูงไปในทางชั่ว๔) สมชีวิตา รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่ายให้พอดีกับรายได้ในการดำเนินชีวิตให้พอเหมาะพอดี คุณธรรมทั้ง ๔ นี้จะช่วยสนับสนุนการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงบรรลุเป้าหมาย

การประยุกต์หลักธรรมเพื่อสนับสนุนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสังคมปัจจุบัน๑)ความขยันนำไปใช้เพื่อสร้างกำลังการในทำงาน เป็นต้น๒)อารักขสัมปทา คือ รู้จักเก็บรักษาสิ่งของ ทรัพย์และไม่ฟุ่มเฟือย ป้องกันความเสี่ยม๓) กัลยาณมิตตตา คือขวนขวายใฝ่หาความรู้ และรวมกลุ่มสร้างชุมชนพึ่งตนได้๔) สมชีวิตา สนับสนุนการดำเนินชีวิตให้มีความสุขทั้งด้านกายภาพและจิตใจด้วยการรักษาศีล สมาธิและพัฒนาปัญญาเพื่อทำจิตให้พ้นจากความทุกข์และปัญหาทั้งหลาย

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕