หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสิริชัย เขมจิตฺโต (เรืองธารา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๔ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมและการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในฉฉักกสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระสิริชัย เขมจิตฺโต (เรืองธารา) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ฐานชิโต
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕ มกราคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาหลักธรรมในฉฉักกสูตร และเพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในฉฉักกสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุปเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ
จากการศึกษาสรุปได้ดังนี้

             ฉฉักกสูตรเป็นพระสูตรที่ปรากฎในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่มที่ ๑๔ ชื่อพระสูตรถูกตั้งตามเนื้อหาสารที่ปรากฏในพระสูตร ว่าด้วย ธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด พระพุทธเจ้าทรงได้แสดงพระสูตรนี้แก่พระภิกษุ ณ พระเชตะวันอาราม เพื่อเป็นแนวทางการประพฤติพรหมจรรย์ เหตุเกิดพระสูตรจัดอยู่ในประเภทปรัชฌาสยะ รูปแบบบรรยายโวหาร ถามเอง-ตอบเอง ทรงยกธรรมแต่ละหมวดขึ้นเป็นคำปุจฉา แล้วทรงวิสัชนาจำแนกโดยละเอียด แบบแก้อรรถ ธรรม ๖ ประการ ๖ หมวด ๖ ประกอบไปด้วย ๑) หมวดอายตนะภายใน ๒) หมวดอายตนะภายนอก ๓) หมวดวิญญาณ ๔) หมวดผัสสะ
๕) หมวดเวทนา และ ๖) หมวดตัณหา

          การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในฉฉักกสูตร มีวิธีการปฏิบัติเป็นแบบ การเจริญวิปัสสนาแบบวิปัสสนาล้วน และมีแนวทางในการปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐาน มีสติกำหนดรูปนาม ตามหลักสติ-    ปัฏฐาน ๔ คือ พิจารณาเห็นกายในกาย พิจารณาเวทนาในเวทนา พิจารณาเห็นจิตในจิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกได้ ผู้ปฏิบัติต้องมีการกำหนดรู้สภาวธรรมที่ปรากฏอย่าง จดจ่อ ต่อเนื่อง เพื่อศึกษาในปัจจุบันธรรมของรูปนาม ทำให้เกิดปัญญารู้ชัดตามความเป็นจริงของ รูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
หลุดพ้นจากอาสวกิเลส และดับทุกข์ได้ในที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕