บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (๑) เพื่อศึกษาทฤษฏีพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิด และ (๓) เพื่อนำเสนอโมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิดของผู้ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
พระนิสิตวิปัสสนาภาวนาบาลีพุทธโฆส และพระปฏิบัติธรรม และอุบาสก อุบาสิกา จำนวน ๑๒๐
รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ F–test และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis)แบบ Multinomial Logistic )
ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์การถอดถอยโลจิสติกส์ (Logistic Regression Analysis) การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระ โดยที่ตัวแปรตาม (Y) มีลักษณะเป็นตัว แปรเชิงกลุ่ม เมื่อได้แบบแผนความสัมพันธ์ ใช้ประมาณค่ากลุ่มได้ โดยอาศัยความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ยังพบว่า
(๑) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิด มีอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่สถานะภาพของผู้ปฎิบัติธรรม และ ระดับการศึกษา มีผลต่อพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วน ช่วงอายุ ๔๑ - ๕๐ ปี และประประสบการณ์ปฏิบัติธรรม ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิด (๒) การวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิม ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตน ความมั่นคงทางอารมณ์ การรับรู้ความสามารถตน และ การรับรู้สภาวะการปฏิบัติ มีผลต่อพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และ (๓) การวิเคราะห์ Multiple Logistic Regression เพื่อตรวจสอบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรอิสระมีผลต่อตัวแปรตาม คือพฤติกรรมและกระบวนการรู้คิด
ดาวน์โหลด
|