บทคัดย่อ
สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักฆราวาสธรรม ๔ ในการดำเนินชีวิตของ
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี และเพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและ ข้อเสนอแนะของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา จำนวน ๑๙๖ คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t – test) และ One – Way analysis of variance (F – test) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ใช้การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Post hoc Comparison)
ผลการวิจัยพบว่า
(๑) การปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม ๔ ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๔.๐๖) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ คือ ด้านสัจจะ (= ๔.๓๓) คือ
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามีความจริงใจต่อการทำงานที่ได้รับมอบหมาย (= ๔.๕๓) ด้านจาคะ (= ๔.๑๒) คือ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาทำงานด้วยความเสียสละ และไม่นำของส่วนรวมมาเป็นของตน (= ๔.๓๖) ด้านทมะ (= ๓.๙๑) คือ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามีความกระตือรือร้นในการเคี่ยวเข็ญฝึกฝนตนเองอย่างไม่มีข้อแม้หรือเงื่อนไขใดๆ (= ๔.๐๙) และด้านขันติ (= ๓.๘๗) คือ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนามีความรับผิดชอบ และอดทนต่อความยากลำบากในการทำงานของตนและผู้อื่นได้ (= ๔.๑๓)
(๒) ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และจำนวนครั้งที่มาปฏิบัติธรรมต่างกันมีการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม ๔ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ดาวน์โหลด |