หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » จะเด็จ คงสุขศรี
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังวรสูตร
ชื่อผู้วิจัย : จะเด็จ คงสุขศรี ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาชิต ฐฃานชิโต
  วิโรจน์ คุ้มครอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระสำคัญและโครงสร้างในสังวรสูตร ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมสำคัญในสังวรสูตร และ ๓) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังวรสูตร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารต่างๆ       ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุปเรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญ

             ผลการวิจัยพบว่า สังวรสูตรเป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสแสดงตามพระอัธยาศัยแก่พระภิกษุสงฆ์โดยทรงสอนให้ สังวร หมายถึงการปิด คือ การสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ระวังไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นครอบงำใจของตนได้ ในเวลารับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ ถ้าไปหลงเพลิดเพลิน ชื่นชม ยึดติดอยู่ เป็นสาเหตุให้จิตเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเจริญอกุศลธรรมในจิตยึดติดกามคุณ กิเลสนิวรณ์ต่าง ๆ เมื่อได้เจริญจิตด้วยการสำรวมอายตนะเหล่านี้ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม

 

             หลักธรรมคำสอนสำคัญในสังวรสูตรคือการสำรวมระวังในอายตนะภายในและอายตนะภายนอก เพื่อให้มองเห็นคุณและโทษของอกุศลต่าง ๆ ที่จะเกิดติดตามมาหากจิตของพระภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์เหล่านั้นอยู่จนขาดการสำรวมระวังปล่อยให้จิตถูกอกุศลธรรมทั้งหลายซึ่งมีรากเหง้ามาจากโมหะ โทสะและโลภะ หลักสังวรธรรมยังเกื้อกูลในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาอย่างยิ่ง 

          การปฏิบัติวิปัสสนาในสังวรสูตรสามารถนำหลักสังวรมาใช้โดยการตั้งสติในขณะการรับอารมณ์ทางทวารอายตนะทั้ง ๖ คือ รู้อารมณ์ที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ ในปัจจุบัน ให้กำหนดรู้การเกิดดับของอารมณ์และผู้รู้อารมณ์ ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ คือการกำหนดพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งอาศัยธรรมที่เกี่ยวข้องเกื้อหนุน โดยการมีสติสัมปชัญญะในการพิจารณาด้วยความเพียรตลอดเวลา สามารถตัดละต้นเหตุแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จนรู้เห็นรูปนามตามความเป็นจริงโดยความเป็นไตรลักษณ์ เกิดปัญญาญาณบรรลุมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายได้ทั้งในอบายภูมิและทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ ซึ่งเป็นเป้าหมายการสังวรสำรวมของภิกษุทั้งหลาย ดังพระอริยบุคคลผู้บรรลุธรรมด้วยการสังวรอายตนะ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕