หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาไนศยา ชาคโร (พรมทัต)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
ศึกษาความสำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ (พระธาตุหนองบัว) ที่มีต่อชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาไนศยา ชาคโร (พรมทัต) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาความสำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ (พระธาตุหนองบัว) ที่มีต่อชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพระธาตุเจดีย์ในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ (พระธาตุหนองบัว) ที่มีต่อชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ (พระธาตุหนองบัว) ที่มีต่อชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

          ผลการศึกษา พบว่า แนวคิดเรื่องพระธาตุเจดีย์ในพระพุทธศาสนา มี ๔ แนวคิด ดังนี้ ๑) แนวคิดการออกแบบเจดีย์ตามหลักพระพุทธศาสนา ๒) แนวคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อพระเจดีย์ ๓) แนวคิดเกี่ยวกับอานิสงส์การสร้างพระเจดีย์ ๔) แนวคิดเกี่ยวกับอานิสงส์ของการบูชาพระเจดีย์

          ความสำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ที่มีต่อชุมชน พบว่ามี ๓ ส่วน ดังนี้ ๑) ความเป็นมา สร้างพระธาตุองค์เล็กเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ แล้วเสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ สร้างพระธาตุใหญ่ครอบเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ เสร็จในปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ บูรณะซ่อมแซมในปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ ๒) วัตถุประสงค์ของการสร้าง เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถานเนื่องในวาระมงคลกึ่งพุทธกาล ๒๕๐๐ ปี เพื่อให้เป็นพระธาตุประจำจังหวัดอุบลราชธานี ความสำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ มี ๕ ด้าน คือ ด้านการให้ทาน ด้านการรักษาศีล ด้านการภาวนา ด้านประเพณี ด้านการท่องเที่ยว         

          ผลจากการวิเคราะห์ความสำคัญของพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ที่มีต่อชุมชน พบว่า จำแนกออกเป็น ๓ ด้าน ดังนี้ ๑) ด้านการให้ทาน คือ ประชาชนในชุมชนมีความเสียสละ ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปัน อุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และไม่ตระหนี่ ๒) ด้านการรักษาศีล คือ ประชาชนเคารพกฎเกณฑ์ทางสังคม มีการปลูกฝังเบญจธรรม สำรวมเบญจศีล สำรวมอินทรีย์ ๓) ด้านการภาวนา คือ (๑) กายภาวนา สามารถอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและธรรมชาติ ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของเทคโนโลยี สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต (๒) ศีลภาวนา ยึดหลักศีล ๕ ในการดำรงชีวิต (๓) จิตตภาวนา จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม ทำวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิ (๔) ปัญญาภาวนา ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ยึดหลักโยนิโสมนสิการ ดำรงชีวิตด้วยหลักสัมมาทิฐิ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕