บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาเรื่องการส่งเสริมความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ที่มีต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงตามหลักพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาความเชื่อเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ๓) เพื่อศึกษาการส่งเสริมความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ที่มีต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงตามหลักพุทธศาสนา เป็นงานวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) ผลจากการศึกษาพบว่า
แนวคิดเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึงการกระทำที่กำจัดหรือทำให้ผู้เป็นปฏิปักษ์ และกิเลสให้สิ้นไป เป็นการกระทำที่มีความอัศจรรย์เกิดขึ้น ในพระพุทธศาสนาเถรวาท มี ๓ ประการ คือ ๑) อิทธิปาฏิหาริย์ ๒) อาเทศนาปาฏิหาริย์ ๓) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ แบ่งออกได้เป็น ๒ ระดับ คือระดับโลกิยะธรรม และระดับโลกุตรธรรม การแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เป็นไปเพื่อส่งเสริมความเลื่อมใสในเบื้องต้น โดยมีหลักสมถะกรรมฐานเป็นเครื่องฝึกจิตให้เกิดฌานจนเกิดอภิญญาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
ความเชื่ออิทธิปาฏิหาริย์ของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงนั้นมีผลสำเร็จเกิดอิทธิปาฏิหาริย์ต่อผู้สักการบูชาสำเร็จในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ ๑) ความสมหวังการงาน ๒) การดำเนินธุรกิจค้าขาย ๓) การขอเรื่องสุขภาพความเจ็บป่วย ๔) การสาบาน ๕) การศึกษา และขอพรในเรื่องต่างๆ
การส่งเสริมความเชื่อเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ที่มีต่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงตามหลักพุทธศาสนานั้น ภิกษุ สามเณร อุบาสกอุบาสิกา ผู้มีธรรมเป็นปรโตโฆษะเป็นกัลญาณมิตรจะต้องนำเข้าสู่สัจธรรมที่ถูกต้องดีงามตามหลักพุทธศาสนามีความเชื่อหรือศรัทธา ๔ ประการคือ ๑) กัมมสัทธา ๒) วิปากสัทธา ๓) กัมมัสสกตาสัทธา ๔) ตถาคตโพธิสัทธา เข้าใจในศรัทธา ๒ คือ ๑) สัทธาแบบปิดกั้นปัญญา และ ๒) สัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ตระหนักถึงสัจธรรมอันแท้จริง เชื่อในศักยภาพแห่งตน มองเห็นถึงเหตุผลในสิ่งต่างๆ การส่งเสริมใช้อิทธิปาฏิหาริย์เกี่ยวกับพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงสู่ชาวอุบลราชธานีมี ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านสังคม ๒) ด้านศาสนา ๓) ด้านเศรษฐกิจ ๔) ด้านประเพณีและวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น
ดาวน์โหลด
|