บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประเด็น คือ (๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) จังหวัดนครราชสีมา และ (๒) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) จำนวน ๓๔ คน ใช้คู่มือในการจัดการเรียนรู้ แผนการสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคำนวณหาค่าทางสถิติต่าง ๆ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) จังหวัดนครราชสีมา พบว่า เมื่อผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยการให้ผู้เรียนได้ศึกษาใบความรู้ แล้วให้ผู้เรียนได้ทำการวิเคราะห์แยกแยะประเด็นเรื่องราวตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ปรากฏว่า ผู้เรียนบางส่วนมีความเข้าใจเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ได้ไม่สมบูรณ์ ผู้สอนจึงดำเนินการอธิบายสอดแทรกเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสัปปุริสธรรม ๗ และสังเกตพฤติกรรมตอบสนอง ปรากฏว่า ผู้เรียนเกิดปฏิกิริยาตอบสนองในการเรียนรู้และสามารถตอบปัญหาที่ผู้สอนถามได้ ผู้สอนจึงดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง ๔ แผน ปรากฏว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตามหลักสัปปุริสริสธรรม ๗ มากขึ้นและสามารถคิดวิเคราะห์แยกแยะตามการจัดการเรียนรู้หลักสัปปุริสธรรม ๗ ทั้ง ๗ ขั้น ได้เป็นอย่างดี และจากการศึกษาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ สังเกตุพบอีกว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี มีผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น
๒. ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗
วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) จังหวัดนครราชสีมาเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ ประวัติความสำคัญและการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
จำนวน ๔๐ ข้อ ซึ่งใช้แบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .๐๕ แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้ตามหลักสัปปุริสธรรม ๗ วิชาพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดป่าจิตตสามัคคี) ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นค่าเฉลี่ย ๒๘.๗๔/ ๒๔.๔๗
ดาวน์โหลด
|