หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทองล้อม สุเมโธ (อินทะสร้อย)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๓ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทองล้อม สุเมโธ (อินทะสร้อย) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชเขมากร
  พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ
  บุญปั๋น แสนบ่อ
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาของการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed method research) ในส่วนของการเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ได้ใช้แบบสอบถามการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ซึ่งประชากรกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิของ R.V. Krejcie& D.W. Morganจำนวนประชากรที่เป็นสามเณร จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๖ รูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยคัดเลือกแบบเจาะจง คือผู้บริหารและคณะครู ๑๕ รูป/คน หลังจากนั้นรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์และนำเสนอแบบบรรยายเชิงพรรณนา

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

(๑) ข้อมูลพื้นฐานของสามเณรนักเรียน อายุ การศึกษา และสถานภาพทางครอบครัวของสามเณรนักเรียน โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่มีอายุ ๑๗ ปี จำนวน ๓๕ รูป คิดเป็นร้อยละ ๓๐.๐ การศึกษาของสามเณรนักเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๔๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐ ส่วนสถานภาพทางครอบครัว ของสามเณรนักเรียน ส่วนใหญ่มีทั้งมารดาและบิดา จำนวน ๘๔ รูป คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๐

 

(๒) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๔.๓๗, S.D. = ๐.๔๑) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านสมาธิสิกขา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = ๔.๓๘, S.D. = ๐.๕๗) รองลงมา ด้านสีลสิกขา มีค่าเฉลี่ย ( = ๔.๓๘, S.D. = ๐.๖๓) ด้านปัญญาสิกขา มีค่าเฉลี่ย ( = ๔.๓๖, S.D. = ๐.๔๔) ตามลำดับ

 

(๓) ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาในการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ทั้ง ๓ ด้านพบว่า ด้านสีลสิกขา มีปัญหาเกี่ยวกับการไม่ค่อยได้ปฏิบัติตามศีล ๑๐ ของสามเณรนักเรียน ด้านสมาธิสิกขา ปัญหาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการฝึกสมาธิยังมีน้อย ไม่ฝึกฝนจริงจัง ด้านปัญญาสิกขา ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาสามเณรนักเรียนยังไม่ครอบคลุมเพื่อพัฒนาให้มีศักยภาพ และมีปัญหาได้สามเณรนักเรียนที่มีทักษะวิชาการทางความรู้พื้นฐานที่น้อย ส่วนใหญ่พลาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งโรงเรียนต้องแบกรับภาระอันหนัก ในการพัฒนาสามเณรนักเรียนให้มีศักยภาพเต็มที่

 

ข้อเสนอแนะด้านสีลสิกขา ควรมีการจะฝึกฝนอบรม พัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนเด็กที่มาบวชเรียนเป็นสามเณรนักเรียนตามศีล ๑๐ ของสามเณรนักเรียนต้นแบบ นับว่าเป็นบทฝึกฝนอบรมตน    ที่สำคัญที่สุด ด้านสมาธิสิกขา ควรมีการฝึกจิตเสริมทักษะชีวิตด้วยสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่อง มีไหว้พระสวดมนต์ ทำสมาธิยืนเดินนั่ง และกราบสติปัฏฐาน ๔ เน้นสอนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน ด้านปัญญาสิกขา ควรมีการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขา ๓ ด้านปัญญาให้มากขึ้น และควรมีกิจกรรมในการส่งเสริมการพัฒนาปัญญาตามกรอบศีล ๑๐

(๔) แนวทางการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบด้วยหลักไตรสิกขา ๓ คือ ศีลสมาธิ ปัญญา ควรเริ่มจากสีลสิกขา มีการประยุกต์ใช้การพัฒนากายวาจาด้วยศีล ให้ฝึกทักษะอารมณ์ด้วย สมาธิสิกขา เพื่อพัฒนาอารมณ์ที่แสดงออกมาทางกายและวาจา ของสามเณรนักเรียน ด้านปัญญาสิกขา ควรมีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในหลักเหตุและผล เรียนรู้ทักษะต่างๆ ของชีวิต ควรเพิ่มองค์ความรู้ในเนื้อหาของกิจกรรมเสริมปัญญา ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของกระทรวงศึกษาธิการ นำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาสามเณรนักเรียนต้นแบบใน ๑๐ ด้านอย่างเชื่อมโยงและเป็นองค์รวม เพื่อการพัฒนาศักยภาพของสามเณรนักเรียนที่เป็นต้นแบบได้อย่างสมบูรณ์

 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕