บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาสมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ (๒) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ทำการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๑๗ คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญที่น้อยที่สุด (Least SingificantDiffernce : LSD.)
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๒๑๓ คนคิดเป็นร้อยละ ๖๗.๒ มีอายุ ๕๑ ปีขึ้นไป จำนวน ๑๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๖ มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีลงไป จำนวน ๒๕๗คน คิดเป็นร้อยละ ๘๑ และมีประสบการณ์ในการทำงาน ๖-๒๐ ปี จำนวน ๒๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๖
๒. สมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๓.58) เมื่อพิจารณาในรายด้านพบว่าสมรรถนะการสอนของพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการผลิตและการใช้สื่อ, ด้านเนื้อหาและหลักสูตร, ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน,ส่วนด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับน้อยกว่าทุกข้อตามลำดับ
๓. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการสอนศีลธรรมของพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่าครู ที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกันสมรรถนะการสอนศีลธรรมของพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาในรายด้าน คือ ด้านเนื้อหาและหลักสูตรด้านการผลิตและการใช้สื่อ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและด้านการวัดประเมินผล พบว่า ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
๔. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะสมรรถนะการสอนศีลธรรมของพระสอนศีลธรรมตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ พบว่า ด้านเนื้อหาและหลักสูตร ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาทั้งไม่สามารถกำหนดโครงสร้างหลักสูตรได้ตามเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตและการใช้สื่อขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีรวมทั้งขาดแคลนเทคโนโลยีในการสอน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนนักเรียนไม่เชื่อฟังไม่สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดีเท่าที่ควรในขณะทำการสอน ด้านการวัดผลประเมินผลสถานศึกษาไม่มีระเบียบการวัดผลประเมินผลของสถานศึกษาแก่พระสอนศีลธรรมทั้งไม่มีความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลตามสภาพจริงข้อเสนอแนะวางแผนการทำงานให้พระสอนศีลธรรมอย่างเป็นระบบและต้องมีนโยบายในการหาพระที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานเพื่อให้การสอนศีลธรรมมีประสิทธิภาพสนับสนุนทุนในการซื้อเทคโนโลยีให้พระสอนศีลธรรมและจัดอบรมถวายความรู้แก่พระวิทยากรที่สอนศีลธรรมอย่างทั่วถึงพระสอนศีลธรรมควรมีการสอนแบบผ่อนคลายไม่ควรสอนแต่หลักธรรม ควรสอดแทรกความสนุกสนานอย่างอื่นเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนสถานศึกษาควรมีเจ้าหน้าที่วัดผลประเมินผลที่ชำนาญให้แก่พระสอนศีลธรรมและมีการประเมินผลอย่างจริงจังเพื่อจะได้ทราบถึงความสำคัญของการเรียนการสอนหลักพุทธธรรม
ดาวน์โหลด |