หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระบุญเพ็ง ฐิตคุโณ (ทองจันทร์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
ศึกษาหลักกุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อผู้วิจัย : พระบุญเพ็ง ฐิตคุโณ (ทองจันทร์) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัติยาภิวัฒน์
  บุญเลิศ ราโชติ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์เรื่องศึกษาหลักกุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวพุทธ
ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ๑) เพื่อศึกษาหลักกุลจิรัฏฐิติธรรม
ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักกุลจิรัฏฐิติธรรมของพุทธศาสนิกชน
ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ การวิจัยเป็นแบบเชิงคุณภาพ
โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์ แล้วนำมาวิเคราะห์ เรียบเรียง จัดทำเป็นรูปเล่ม
และนำเสนอเชิงพรรณนา

ผลของการวิจัยพบว่า

             ๑. ข้อมูลเกี่ยวกับกุลจิรัฏฐิติธรรม คือ หลักธรรมสำหรับดำรงความมั่นคงวงศ์ตระกูล
และทำให้ตระกูลยั่งยืนได้นาน ซึ่งผู้นำครอบครัวจะต้องปฏิบัติ โดยพยายามขยันหาทรัพย์ด้วย
ความสุจริต ลักษณะพุทธศาสนิกชนที่ดีส่วนมากจะต้องพัฒนาตนเป็นคนดี มีศีลธรรม
ประกอบสัมมาชีพ  ทำตนเป็นประโยชน์แก่ตนเอง ต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ แนวคิดเศรษฐกิจของครอบครัวจะมั่นคงดำรงอยู่ได้นาน นอกจากผู้นำครอบครัวจะปฏิบัติกุลจิรัฏฐิติธรรมแล้วสมาชิกในครอบครัวต้องเห็นคุณค่าและปฏิบัติตามกุลจิรัฏฐิติธรรมด้วย พระพุทธศาสนามุ่งสอนให้ชาวพุทธผู้ครองเรือนสร้างฐานะความมั่นคงมั่งคั่งจึงชี้แนะทางเลือกการดำเนินชีวิตตามกุลจิรัฏฐิติธรรม
เพราะกุลจิรัฏฐิติธรรมเป็นหลักธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้วงศ์ตระกูลของคนในสังคม ประเทศชาติ เสถียรภาพอยู่ได้นาน 

 

             ๒. การปฏิบัติตามกุลจิรัฏฐิติธรรมที่พุทธศาสนิกชนชาวอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ได้นำมาปฏิบัติ มีนัฏฐคเวสนา รู้ว่าของหมดของหายไป วิธีปฏิบัติ คือ รู้จักหามาไว้ เพื่อจะใช้ในคราวจำเป็นหรือใช้ได้สะดวกและเกิดประโยชน์ รักษาไว้ให้มีเสถียรภาพ ชิณณปฏิสังขรณาธรรม
ซ่อมแซมสิ่งของเก่าชำรุด วิธีปฏิบัติ คือ รู้จักบำรุงรักษาละปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดเสียเป็นบางส่วนให้คงคืนสภาพที่สามารถใช้ได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งให้ชำรุด ไม่สามารถจะซ่อมแซมได้
ปริมิตปานโภชนาธรรม รู้จักประมาณในการกิน การใช้ แนวปฏิบัติคือ รู้จักการประเมินหรือวางโครงการใช้จ่ายทรัพย์สมบัติ รู้จักประหยัดอดออม ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตน และอธิปัจจสีลวันตสถาปนาธรรม การตั้งผู้เป็นพ่อบ้านแม่นเรือนหรือหัวหน้าครอบครัวต้องมีศีลธรรม แนวปฏิบัติคือ รู้จักคัดเลือกผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

          ๓. ประโยชน์ที่เกิดจากการปฏิบัติกุลจิรัฏฐิติธรรมของพุทธศาสนิกชน ชาวอำเภอเมืองอำนาจเจริญ ประโยชน์ของการปฏิบัติตามนัฏฐคเวสนาธรรม คือ เป็นคนรู้จักแสวงหาสิ่งของที่หมดที่หายไปมาได้ ทำให้ประหยัดเงิน ไม่ต้องซื้อใหม่โดยไม่ใช่เหตุ เพื่ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้า
ประโยชน์จากการปฏิบัติตามชิณณปฏิสังขรณาธรรม การรักษาซ่อมแซมของเก่าของชำรุด รู้จักถนอมไว้ใช้นานๆ นั้นผลก็คือเป็นคนประหยัดทรัพย์ ไม่ฟุ่มเฟือย รับผิดชอบต่อตนเอง เป็นคนมีความพอเพียงรู้จักคุณค่าของสิ่งของเครื่องใช้ และการตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นผู้นำครอบครัว ลักษณะดังกล่าวจะทำให้มีเงินออมมีเงินใช้ในเวลาฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติไม่ต้องลำบากในอนาคต ส่งผลให้ครอบครัวมีความสุขพ่อแม่ภาคภูมิใจในผู้ปฏิบัติ

 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕