บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งหมายเพื่อ“ศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่องท้าวหัวค่อหล่อ”โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานและวรรณกรรมอีสานพื้นบ้านเรื่องท้าวหัวค่อหล่อ ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานพื้นบ้าน เรื่องท้าวหัวค่อหล่อและ ๓) ศึกษาอิทธิพลของหลักธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานพื้นบ้านเรื่องท้าวหัวค่อหล่อที่มีต่อวิถีชีวิตชาวอีสาน
ผลการวิจัยพบว่า
วรรณกรรม นั้นหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์จงใจหรือตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อสื่อความหมายกับผู้คนในสังคม มนุษย์เรียนรู้ที่จะเป็นผู้สร้างวรรณกรรมและใช้วรรณกรรมนั้นไปในหลากหลายเป้าหมาย เช่น ใช้เพื่อการเมืองการปกครอง การศึกษาและเศรษฐกิจสังคมหรือแม้กระทั่งใช้เพื่อการบันเทิงก็ตาม วรรณกรรมถือว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถที่จะมีได้ และวรรณกรรมนั้นก็มีอยู่หลากหลายประเภท
วรรณกรรมอีสาน เป็นวรรณกรรมอีสานอีกประเภทหนึ่งที่มีพัฒนาการมาจากการได้รับอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างที่มีความเจริญมาก่อน แต่ต่อมาก็มาแพร่หลายที่ภาคอีสานเราจึงเรียกวรรณกรรมในภาคอีสานว่าวรรณกรรมอีสาน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากมายหลายเรื่อง
วรรณกรรมพื้นบ้านอีสานเรื่องท้าวหัวค่อหล่อได้อาศัยรูปแบบพระสุตตันตปิฎกในการดำเนินเรื่อง ใช้ภาษาผู้แต่งได้ใช้ภาษาบาลี และภาษาถิ่นอีสาน องค์ความรู้ที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานหลายเรื่อง เป็นองค์ความรู้ด้านพุทธศาสนาแนวประชาชน และมีการสอดแทรกหลักธรรมเพื่อสั่งสอนให้คนประพฤติปฏิบัติตามเป็นคนดี
หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องท้าวหัวค่อหล่อ ได้แก่ หลักคำสอนเรื่องอริยสัจ ๔ หลักคำสอนเรื่องขันธ์ ๕ หลักคำสอนเรื่องกรรม หลักคำสอนเรื่องความสามัคคี หลักคำสอนเรื่องความกตัญญู และหลักคำสอนเรื่องความเพียร หลักคำสอนเรื่องกุศลกรรมบถ ๑๐
วรรณกรรมอีสานเรื่องท้าวหัวค่อหล่อมีอิทธิพลมีต่อบุคคลในการดำเนินชีวิต ซึ่งสังคมคนอีสานเชื่อว่า ผู้ใดปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ถือว่าบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ที่มีมงคล เช่น มีความกตัญญูเลี้ยงดูบำรุงมารดา มีความเมตตารู้จักที่จะให้เสียสละแบ่งปัน และให้เกิดความเพียรพยายาม อดทนต่ออุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ
ดาวน์โหลด |