บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากรในเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากรในเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากรในเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มประชากรที่ได้กำหนดไว้ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview)
ผลการศึกษาพบว่า
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักอิทธิบาท ๔ ของบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเวียงส่วนใหญ่มีความเข้าใจไปในทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกันตามหลักพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่า อิทธิบาท ๔ หมายถึง บาทฐานแห่งความสำเร็จ ซึ่งเมื่อผู้นำหลักอิทธิบาท ๔ ไปปฏิบัติ ก็จะทำให้ประสบความเจริญดีงาม มีความสำเร็จในหน้าที่การงานในชีวิต พบว่า ผลการประยุกต์ใช้อิทธิบาท ๔ ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากรในเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = ๔.๒๑) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านฉันทะ คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = ๔.๓๐) รองลงมา คือ ด้านวิริยะ คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = ๔.๒๒) ด้านวิมังสา คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = ๔.๑๖) และด้านจิตตะ คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = ๔.๑๔) ตามลำดับ
สภาพปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากรในเทศบาลตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่าด้านฉันทะ บุคลากรยังขาดความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำ จนทำให้มีความพอใจในงานที่ทำน้อย และภารกิจในงานที่ทำมีมาก ด้านวิริยะ บุคลากรมีความเพียรน้อย ขาดเป้าหมายในการทำงาน ไม่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านจิตตะ บุคลากรขาดสติในการทำงาน ไม่มีจิตตั้งมั่นในงานที่ทำ เหม่อลอย การไม่ตระหนักถึงความสำคัญของงาน ด้านวิมังสา การมองความผิดพลาดของคนอื่น แต่ไม่ตรวจสอบตนเองและพัฒนาที่ตนเองก่อน เลยทำให้เกิดความขัดแย้งในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นในองค์กร มีความประมาทไม่ไตร่ตรอง พิจารณาหาเหตุจากการทำงานที่ผิดพลาด ขาดการคิดริเริ่มสร้างสรรค์งาน
แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้เชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติการบูรณาการใน ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในงานการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการพัฒนาตนเอง ปรับศรัทธาตนเองให้เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น รักและมีความสุขกับงานที่ทำ ๒) ด้านวิริยะ คือ ความเพียรพยายาม ที่จะทำงาน การหาบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ ความเต็มใจที่จะทำงาน สร้างแรงจูงใจที่จะให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างไม่ย่อท้อ ๓) ด้านจิตตะ คือ ความตั้งใจ เอาใจจดจ่อกับงานที่ทำ การทำงานอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง อย่างตั้งใจและมีสติ ๔) ด้านวิมังสา คือ การไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผล รอบคอบในการทำงาน สร้างความรู้ในบริบทกระบวนการต่างๆ มีการประเมินผลและปฏิบัติงานต่อการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดาวน์โหลด
|