บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร๒) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน ๓) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรประชากรที่ศึกษาได้แก่พุทธศาสนิกชนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรจำนวน ๔,๔๓๔ คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๕๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบปลายปิด (Closed-ended) และแบบปลายเปิด (Open-ended) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test และค่า F–test และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านภาวนา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านทาน ส่วนด้านศีล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือน โดยรวม อยู่ในระดับมาก
๒) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและ รายได้ต่อเดือน ต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐.๕
๓) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักบุญกิริยาวัตถุของพุทธศาสนิกชนตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร พบว่า พุทธศาสนิกชนได้เสนอแนวส่งเสริม มากที่สุดคือ ด้านทาน ข้อที่มีความถี่มากที่สุด คือควรจัดโครงการตลาดนัดคุณธรรมให้กับประชาชนบ้างรองลงมาคือควรจัดกิจกรรมทางศาสนาให้ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่เสมอและควรจัดกิจกรรมให้ชาวไทยพุทธบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน
ดาวน์โหลด
|