หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูประพัฒน์ธรรมาภรณ์ (ประพันธ์ วรธมฺโม)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๖ ครั้ง
ศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ตามหลักอิทธิบาท ๔ ของครูในโรงเรียนบาลีสาธิตวัดศรีษะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ชื่อผู้วิจัย : พระครูประพัฒน์ธรรมาภรณ์ (ประพันธ์ วรธมฺโม) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  พระครูจิรธรรมธัช
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2560
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดการเรียนการสอนและหลักอิทธิบาท ๔  ๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของครูในโรงเรียนบาลีสาธิตวัดศรีษะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย  ๓) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของครูในโรงเรียนบาลีสาธิตวัดศรีษะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

 

              ผลจากการวิจัยพบว่า  จากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า การเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน โดยที่ผู้สอนได้จัดประสบการณ์ในด้านการเรียนต่างๆให้กับผู้เรียน เช่น การจัดวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนสร้างบรรยากาศในสถานที่เรียนและการใช้เทคนิคและวิธีการสอนแบบต่างๆเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนนั้นประกอบด้วย

 

ด้านเนื้อหาของหลักสูตร ด้านเทคนิคการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน ด้านการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล  หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับหลักอิทธิบาท ๔ ในพระไตรปิฎก หมายถึง การศึกษาหลักอิทธิบาท ๔ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณเพื่อประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงกระบวนการทางหลักอิทธิบาท ๔ ไว้มากมาย ถือเป็นคำสอนที่ไม่ล้าสมัย สามารถนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างดีเยี่ยม ได้แก่ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสาและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของครูในโรงเรียนบาลีสาธิตวัดศรีษะเกษ  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายมีดังต่อไปนี้

              ความคิดเห็นของนักเรียนจากประชากรทั้งหมด ๒๑๗  รูป พบว่า สถานะ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานะเป็นสามเณร มีจำนวน ๒๐๑ รูป คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๖๓ รองลงมามีสถานะเป็นพระภิกษุ มีจำนวน ๑๖ รูป คิดเป็นร้อยละ ๗.๓๗ มีอายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ ๑๖-๑๘ ปี มีจำนวน ๙๑ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๑.๙ ระดับชั้นเรียนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่มัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีจำนวน ๓๗ รูป คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๐วุฒิการศึกษาทางธรรมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษานักธรรมชั้นโท มีจำนวน ๑๐๐ รูป คิดเป็นร้อยละ ๔๖.๑ วุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาประโยค ๑-๒ มีจำนวน ๑๐๐ รูป คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๐ ตามลำดับตามลำดับ

              ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของครูในโรงเรียนบาลีสาธิตวัดศรีษะเกษ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย       ที่ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปร พบว่า ความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท ๔ ของครูในโรงเรียนบาลีสาธิตวัดศรีษะเกษ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย จำแนกตาม สถานะอายุ ของนักเรียนที่ความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยภาพรวม มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนระดับชั้นเรียน วุฒิการศึกษาทางธรรม และวุฒิการศึกษาทางเปรียญธรรมของนักเรียนที่ความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามหลักอิทธิบาท ๔ โดยภาพรวม ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕