หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูประกาศศาสนกิจ (ณกร ถิ่นสำราญ)
 
เข้าชม : ๒๑๐๔๕ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขต ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อผู้วิจัย : พระครูประกาศศาสนกิจ (ณกร ถิ่นสำราญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชเขมากร
  พระครูภาวนาเจติยานุกิจ
  สมจิต ขอนวงค์
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตตำบลวังดินอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และ ๓) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ การวิจัยเป็นแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างเชิงปริมาณ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ โดยใช้กลุ่มประชากรกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม จากจำนวนประชากรทั้งหมดในตำบล และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการเสวนากลุ่มย่อยกลุ่มประชากรตัวอย่างแบบเจาะจง คือพระสงฆ์และผู้นำในเขตตำบล  จากนั้นรวบรวมข้อมูล นำมาทำการวิเคราะห์และบรรยายเป็นแบบบรรยายเชิงพรรณนาเพื่อนำเสนอข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

บทบาทการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์    มี ๕ ด้าน คือ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ทุกด้านนั้นมีระดับความคิดเห็นของประชาชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = .๙๖) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการศึกษา รองลงมาคือด้านสิ่งแวดล้อม        ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ

หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ (๑) ด้านสังคม มีการใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ อิทธิบาท ๔  พรหมวิหาร ๔ และหลักสัมมาอาชีวะ (๒) ด้านเศรษฐกิจ มีการใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ อิทธิบาท ๔  พรหมวิหาร ๔ และหลักสัมมาอาชีวะ (๓)ด้านวัฒนธรรม มีการใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ และหลักอิทธิบาท ๔  (๔) ด้านการศึกษา มีการใช้หลักอิทธิบาท ๔  และ          (๕) ด้านสิ่งแวดล้อม มีการใช้หลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ อิทธิบาท ๔  พรหมวิหาร ๔             และหลักสัมมาอาชีวะ

ผลการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์ในเขตตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า

(๑) ด้านสังคม มีการประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ อิทธิบาท ๔  พรหมวิหาร ๔ และหลักสัมมาอาชีวะ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผ่านโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมเยาวชนและประชาชน ทำให้คนในสังคมมีความรักสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

(๒) ด้านเศรษฐกิจ ได้นำหลักสังคหวัตถุ และทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ มาประยุกต์ใช้    ทำให้เกิดวิถีชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความเป็นอยู่ดีมากขึ้น

(๓) ด้านวัฒนธรรม ได้นำเอาหลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ และหลักอิทธิบาท ๔         มาประยุกต์ใช้ ทำให้ประชาชนเกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น

(๔) ด้านการศึกษา ได้นำเอาหลักอิทธิบาท ๔ มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการศึกษา    ให้เป็นผู้มีความพอใจ ใส่ใจ พยายามในการศึกษาหาความรู้ ให้พระสงฆ์สามเณร รวมไปถึงประชาชนในเขตตำบลวังดิน มีความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองจนสามารถนำมาพัฒนาชุมชนได้

(๕) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้นำเอาหลักทิฎฐธัมมิกัตถะประโยชน์ อิทธิบาท ๔  พรหมวิหาร ๔ และหลักสัมมาอาชีวะ มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชน ทำให้ประชาชนเกิดความรักในธรรมชาติ  อยู่แบบพึ่งพาอาศัยและตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมด้วยหมั่นในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕