หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูเกษมนวกิจ (สุชาติ นาถกโร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์คุณธรรมของลิงพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในชาดก ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระครูเกษมนวกิจ (สุชาติ นาถกโร) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์
  ยุทธนา พูนเกิดมะเริง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษา ๓ ประการ คือ (๑) ลิงที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) การเสวยชาติเป็นลิงของพระโพธิสัตว์ลิงที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท (๓) วิเคราะห์บทบาทและคุณธรรมของลิงพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในชาดกทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลจากการศึกษาพบว่า

             ลิงที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า ลิงในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ในพระวินัยคือลิงที่เป็นอนุบัญญัติในปฐมปาราชิกในพระสูตรเป็นลิงตัวละครต่าง ๆ ในชาดก ใน
พระอภิธรรมเป็นลิงที่เปรียบเทียบว่าเหมือนจิตของคน ยังมีปรากฏในปฐมสมโพธิกถาและคัมภีร์อื่น ๆ

             การเสวยพระชาติเป็นของลิงพระโพธิสัตว์ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่าพระโพธิสัตว์และการเสวยพระชาติเคยเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เป็นยักษ์ ส่วนการเสวยพระชาติเป็นลิงของพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏอยู่ในชาดกของพระสูตร มี ๑๓ เรื่อง ได้แก่ นฬปานชาดก, วานรินทชาดก, ตโยธรรมชาดก, ตินทุกชาดก, สุงสุมารชาดก, ครหิตชาดก, จูฬนันทิยชาดก, กุมภีลชาดก, กาฬพาหุชาดก, วานรชาดก, กปิชาดก, มหากปิชาดก ๑  และมหากปิชาดก ๒ 

 

             วิเคราะห์บทบาทและคุณธรรมของลิงพระโพธิสัตว์ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า มีบทบาทในด้านการเป็นสมาชิกของครอบครัว ด้านการเป็นผู้นำสังคมด้านวัฒนธรรมประเพณีและด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หลักธรรมที่พบในชาดกที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นลิงทั้ง ๑๓ ชาดก อาทิเช่น สัจจะ ปัญญา ความกตัญญูกตเวที กรรม เป็นต้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจึงได้แบ่งหลักธรรมออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

             ด้านปัจเจกบุคคล พบว่า เป็นคุณธรรมที่อำนวยประโยชน์และความสุขแก่ปัจเจกบุคคลผู้ที่ยึดถือและประพฤติปฏิบัติตามส่งผลถึงครอบครัวและสังคม เพราะเมื่อคนดีแล้วครอบครัวและสังคมก็ย่อมดีตามได้ปรากฏหลักธรรมดังต่อไปนี้คือ หลักของกรรม หลักของอธิฏฐานธรรมและหลักของอริยทรัพย์

 

             ด้านครอบครัว พบว่า เป็นคุณธรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว หน้าที่ของบุตรธิดา ตลอดจนหลักการครองตน การครองคน ครองเรือน ส่งเสริมการพัฒนาชีวิตครัวเรือน ให้อยู่ดีมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นครอบครัวที่อบอุ่น จึงเป็นหลักธรรมสำหรับครอบครัว ได้แก่ หลักของบุตร หลักของฆราวาสธรรมและหลักของพรหมวิหารธรรม     

          ด้านสังคม พบว่า เป็นคุณธรรมที่สนับสนุนส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ในสังคมให้มีสติปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรมครอบคลุมสังคมทุกระดับชั้นนับตั้งแต่สังคมเล็ก ๆ เช่น ครอบครัว หมู่บ้าน  ชุมชน จนกระทั่งถึงสังคมที่กว้างใหญ่ขึ้นนั่นคือ ประเทศชาติ และสังคมโลกในที่สุด หลักธรรมดังกล่าว ได้แก่ หลักธรรมในบุคคลหาได้ยาก หลักวุฑฒิธรรมและหลักเวสารัชชกรณธรรม

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕