หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อลิสา นาควัชระ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๒ ครั้ง
ความเปลี่ยนแปลงทางเชาวน์อารมณ์ของผู้เข้าปฏิบัติธรรม ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สายพองยุบ
ชื่อผู้วิจัย : อลิสา นาควัชระ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง)
  วีระ วงศ์สรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

             วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ (๑) เพื่อศึกษาสติปัฏฐาน ๔ ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเชาวน์อารมณ์ของผู้เข้าปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔  สายพอง ยุบ งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Document  Research) และเชิงสำรวจ (Survey  Research) โดยมุ่งศึกษาสติปัฏฐาน ๔ ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และความเปลี่ยนแปลงทางเชาวน์อารมณ์ของผู้ปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สายพอง ยุบ

             ผลการวิจัยพบว่าผู้ทีมีเชาวน์อารมณ์ที่ดีจะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความสุข และประสบผลสำเร็จในชีวิตสูง ส่วนเชาวน์อารมณ์ในทัศนะของพระพุทธศาสนานั้นได้มีการกล่าวถึงลักษณะของบุคคลที่ใกล้เคียงกับผู้ที่มีเชาวน์อารมณ์ที่ดีว่าเป็นผู้ที่มีจิตที่ได้รับการพัฒนาแล้ว และเป็นผู้ที่มีจิตอันเป็นกุศล 

             ผลของการศึกษาเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางเชาวน์อารมณ์ของผู้เข้าปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สายพอง ยุบ พบว่า การปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ส่งผลให้เกิดคุณลักษณะ ๔ ประการคือ  มีการพัฒนากาย พฤติกรรม จิต และปัญญา ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งด้านเชาวน์อารมณ์  และพัฒนาด้านปัญญาไปด้วย อย่างไรก็ตามทางพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาจิตเป็นอันดับต้น            โดยการพัฒนากาย และพฤติกรรมเป็นการพัฒนาทางด้านสังคม ก่อให้เกิดเชาวน์อารมณ์ทางด้านดี  การพัฒนาปัญญา ก่อให้เกิดความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่ง การพัฒนาจิต เป็นการพัฒนาทางอารมณ์ซึ่งก่อให้เกิดเชาวน์อารมณ์ทางด้านสุข

 

             จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่าหลังการปฏิบัติธรรมคะแนนความเปลี่ยนแปลงทางเชาวน์อารมณ์ได้เพิ่มขึ้นไปทางด้านบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สายพอง ยุบ สามารถนำมาใช้เพิ่มระดับเชาวน์ปัญญาได้ การปฏิบัติธรรม    ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ สายพอง ยุบ  สามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านเชาวน์อารมณ์ได้ ทั้งด้าน ดี เก่ง และสุข อันเป็นความปรารถนาของบุคคล

          สรุปได้ว่าดังที่ได้กล่าวมานี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์  คุณค่า และความไม่ล้าสมัยของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ หรือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งมีมาในพระพุทธศาสนา ส่วนชาวตะวันตก             มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการแสวงหาความรู้  ศึกษาวิจัย การจดบันทึก และเผยแพร่อย่างเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนากระบวนการไปอย่างมากรวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับเชาวน์ปัญญา ดังนั้นหาก              หลอมรวมองค์ความรู้ทั้งสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกันย่อมได้ผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพอใจ และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ นั่นคือความหวังของผู้วิจัย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕